บทที่ 1 สภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียน (ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา 1)


บทที่ 1 สภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียน

มาวิน โทแก้ว

    ขอบข่ายเนื้อหา


      • อธิบายความหมายของสภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียนได้
      • บอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียนได้
      • วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียนที่เหมาะสมได้
      • อธิบายประเภทของโรงเรียนได้
      • สภาพแวดล้องของโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน (โควิด)


                การจัดการเรียนรู้องค์ประกอบหลักสำคัญของการเรียนรู้เป็นที่รู้กันคือ ลักษณะสภาพทั่วไปของโรงเรียน หรือสภาพแวดล้อมข้าง ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่ค่อยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เต็มประสิทธิภาพนอกจากวิธีการสอน และการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว สภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียนตามแนวคิดของนักวิชาการได้ให้มีดังนี้

        1) แนวคิดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา

                        ตัวอย่าง


            วิชาญ สุวรรณวงษ์ (2549: 12) ได้ใหความหมายไว้ว่า สภาพแวดล้อมในสถานศึกษา หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ภายในโรงเรียนที่จะส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ได้แก้ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่สวยงาม ร่มรื่นเป็นระเบียบและมีบรรยากาศดีมีความปลอดภัยมีวัสดุอุปกรณ์เสริมสร้างพัฒนาการและเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลายมีสิ่งยั่วยุให้เกิดการเรียนรู้และ ไม่มีมลภาวะ
            อรพันธุ์ ประสทธิ ิรัตน์ (2554: 54 – 55) ได้ให้ความหมายของสภาพแวดล้อมไว้ว่า สภาพ สภาวะ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรืออาจเป็นสิ่งที่ถูกจัดทำสร้างขึ้น อาจเป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ หรือเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นได้อยู่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ซึ่งมีผลกระทบ ต่อประสทธิ ภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน และได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า พฤตกรรมของผู้เรียนจะเป็นอย่างไรนั้นเกี่ยวข้องหรือได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ การจดสภาพแวดล้อมพึงพอใจในการเรียนทำให้เกิดสมาธิ และปัญญาที่ดีที่เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียนจะเป็นสิ่งที่ยืนยัน
            นงลักษณ์์ มีจรูญสม (2546: 1) ได้กล่าวไว้ว่า สภาพสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีอยู่โดยรอบหรือปะปนกันของสภาพภายนอกและภายในที่มีผลกระทบต่อสิ่งที่มีชีวิต มิใชเพียงที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ก็มีผลผูกพัน ความรู้สึกนึกคิดและกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่ เกิดจนตายซึ่งเรียกว่าเป็นสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรมด้วย ดังนั้นสภาพสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ จึงต้องรวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคมเข้าไว้ด้วยกัน
            ปฏิคม พงษ์ประเสริฐ (2550: 19) ได้กล้าวไว้ว่า สภาพแวดล้อมในโรงเรียน หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ภายในโรงเรียนที่จะส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ได้แก่สภาพแวดลอมในโรงเรียนที่สวยงามร่มรื่นเป็นระเบียบและมีบรรยากาศดีมีความปลอดภัย มี วัสดุอุปกรณ์เสริมสร้างการพัฒนาการและเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
            สุพล อนามัย (2549: 29) ได้ให้ความหมายของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนไว้้ว่า องค์ประกอบต่างๆ ภายในโรงเรียนที่จะส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ได้แก่ สภาวะแวดลอมในโรงเรียนที่สวยงามร่มรนเป็นระเบียบและมีบรรยากาศดีมีความปลอดภัย มีวัสดุอุปกรณ์เสริมสร้างพัฒนาการและเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลายมีสิ่งยั่วยุให้เกิดการเรียนรู้ และไม่มีมลภาวะ
            จากข้อมูลข้างต้น สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงเรียน เป็นองค์ประกอบหลักสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ และใช้เป็นองค์ประกอบของการสอน ซึ่งอาจจะเป็นรูปธรรมและนามธรรมร่วมทั้งเป็นคุรุภัณฑ์ และอุปกรณ์เบา รวมถึงระบบอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เช่น ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องการงานอาชีพ เป็นต้น

        2) ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

        อรุณชัย กัณฑภา (2548: 21) ได้สรุปแนวคิด และหลักความสำคัญที่ ได้กล่าวถึงในด้านการจัดสภาพแวดล้อมในองค์กรโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่จะต้องเสริมสร้างผู้เรียนได้้รับโอกาส อันพึงที่จะควรได้รับในการพัฒนาศักยภาพตามวัย การพฒนาองค์กร หรือโรงเรียนสิ่งหนึ่งที่มีการกล่าวถึง และให้ความสำคัญอย่างมาก คือ การจัดสภาพแวดล้อมในทุกๆ ด้านที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนสภาพแวดลอมที่ดีหมายถึงส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่จะส่งผลให้้ผู้เรียนมีพัฒนาการมีความปลอดภัย มีแรงจูงใจและเกิดความสุข ความเต็มใจในการแสวงหาความรู้ตรงกันข้ามโรงเรียนที่ ขาดการเอาใจใส่ ในด้านสภาพแวดล้อมไม่เห็นความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมจะทำให้บุคลากรทั้งในและนอกสถานศึกษาขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีมีบรรยากาศที่น่าเบื่อ ขาดความอบอุ่นและบรรยากาศที่เป็นมิตร และขาดศรัทธาต่อโรงเรียนทำให้ส่วนประกอบของคำว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ขาดความสมบูรณ์ตามมาในที่สุด
        ประเวศ วะสี (2542: 9) ได้กล่าวถึง ระบบการจัดการศึกษาทั่วโลกว่าจะใช้วิชาเป็นตัวตั้ง จึงสรางปัญหามากมายฉะนั้นจำเป็นต้องศึกษาโดยใช้ความจริง ซึ่งการศึกษาถึงความจริงมี่อยู่ 3 เรื่อง คือ
        1) ศึกษาให้รู้รักตนเอง เข้าใจพื้นฐานความเป็นมนุษย์ต้องเข้าใจว่าเรามีวิญญาณได้จากตนเอง และภายนอกแล้วนำมาสงเคราะห์ให้สูงขึ้น ปัจจุบันการศึกษาของเราสร้างคนให้้พิการทางกายมากมายนัก
        2) ศึกษาให้เข้าใจสภาพแวดล้อมมีการเชื่อมโยงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามนุษย์ควรศึกษาร่วมกับความจริงไม่แยกจากสิ่งแวดล้อมและสามารถสังเคราะห์ ได้การเรียนไม่น่าเบื่อ เกิดความสนุก
        3) ศึกษาให้เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและจัดการศึกษาให้เกิดความสัมพันธ์ เกื้อกูลต่อกัน
        เชิดชู กาฬวงค์ (2545: 14) กล่าวถึงแนวคิดและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนว่า โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จัดมวลประสบการณ์แก่นักเรียน ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อนําประสบการณ์เหล่านั้นไปพัฒนาตนเองในอนาคต แต่จะทำอย่างไรให้เด็กชอบมาโรงเรียนเป็นคนใฝ่รู้ มีความรู้สึกสนุกสนาน มีเจตคติที่ดีต่อโรงเรียนการที่โรงเรียนจะได้้รับการตอบสนองจากนักเรียน โรงเรียนต้องดำเนินการสร้างแรงจงใจต่อนักเรียนให้เกิดความคิดว่า ตนเองเป็นสวนหนึ่งของสถานศึกษาดึงกล่าว แนวทางในการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอนโรงเรียนต้องดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้มีผลต่อการเรียนรู้สามารถปรบสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงเพศและวัยของผู้เรียน
        นิตยา ใจดาบ (2530: 59) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของสภาพแวดล้อมในโรงเรียนว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤตกรรมของผู้เรียน และสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้ และการบริหารโรงเรียนที่เป็นระบบและมประสิทธิภาพจะส่งเสริมให้โรงเรียนได้ดำเนินไปสู่จุดหมายที่ตั้งใจได้
        จากความสำคัญของสิ่งแวเล้อมในโรงเรียน สรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมมีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนาผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้ ถึงแม้ว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่แต่หากว่าสถานที่นั้นไม่มีครู หรือผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนะนำสิ่งที่เหมาะสมกับนักเรียน ก็อาจจะทำให้ผู้เรียนไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่พอสมควรนั้นเอง

        3) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียนที่เหมาะสม

           3.1 ความหมายของวิเคราะห์
            ความหมายของการคิดวิเคราะห์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า “คิด” หมายความว่าทำให้ปรากฏเป็นรูป หรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คาดคะเน คำนวณ มุ่ง จงใจ ตั้งใจ ส่วนคำว่า “วิเคราะห์” มีความหมายว่าใคร่ครวญ แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ดังนั้นคำว่า “คิดวิเคราะห์” จึงมีความหมายว่าทำให้ปรากฏเป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ โดยการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง โดยการแยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ จากการศึกษาความหมายของการคิดวิเคราะห์ สรุปได้ว่าการคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการทางปัญญา เป็นการคิดอย่างรอบคอบตามหลักของการประเมิน และมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อหาข้อสรุปที่น่าเป็นไปได้เป็นการคิดแบบตรึกตรองและมีเหตุผล เป็นความสามารถในการคิดแยกแยะส่วนย่อยออกจากองค์ประกอบ โดยการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คิดอย่างรอบคอบว่าประกอบไปด้วยสิ่งใด มีความสำคัญอย่างไร และสามารถบอกได้ว่า เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นอย่างไร มีแนวโน้มไปในทางใด เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล
            เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2546 : 26–30) ได้อธิบายถึงองค์ประกอบของการคิด วิเคราะห์ว่าแบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ (อ้างอิง
             1. ความสามารถในการตีความเราไม่สามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้ หากไม่เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจข้อมูลที่ปรากฏ เริ่มแรกเราจึงต้องพิจารณาข้อมูลที่ได้รับว่าอะไรเป็นอะไร ด้วยการตีความ การตีความ (Interpretation) หมายถึงการพยายามทำความเข้าใจ และให้เหตุผลแก่สิ่งที่เราต้องการจะวิเคราะห์ เพื่อแปลความหมายที่ไม่ปรากฏโดยตรงของสิ่งนั้น เป็นการสร้างความเข้าใจต่อสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ โดยสิ่งนั้นไม่ได้ปรากฏโดยตรง คือตัวข้อมูลไม่ได้บอกโดยตรงแต่เป็นการสร้างความเข้าใจที่เกินกว่าสิ่งที่ปรากฏ อันเป็นการสร้างความเข้าใจบนพื้นฐานของสิ่งที่ปรากฏในข้อมูลที่นามาวิเคราะห์ เกณฑ์ที่แต่ละคนใช้เป็นมาตรฐานในการตัดสินหรือเป็นไม้เมตรที่แต่ละคนสร้างขึ้นในการตีความนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามความรู้ ประสบการณ์ และค่านิยมของแต่ละบุคคล เช่น การตีความจากความรู้ การตีความจากประสบการณ์ การตีความจากข้อเขียน
            2. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์ เราจะคิดวิเคราะห์ได้ดีนั้น จำเป็นต้องมี ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องนั้น เพราะความรู้จะช่วยในการกำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์ แจกแจงและจำแนกได้ว่าเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร มีองค์ประกอบย่อย ๆ อะไรบ้าง มีกี่หมวดหมู่ จัดลาดับความสำคัญอย่างไร และรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุก่อให้เกิดอะไร การวิเคราะห์ของเราในเรื่องนั้นจะไม่สมเหตุสมผลเลย หากเราไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องนั้น เราจำเป็นต้องใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการคิด ถ้าเราขาดความรู้ เราอาจไม่สามารถวิเคราะห์หาเหตุผลได้ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
            3. ความช่างสังเกต ช่างสงสัยและช่างถาม นักคิดเชิงวิเคราะห์จะต้องมีองค์ประกอบ ทั้ง 3 นี้ร่วมด้วยคือต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต สามารถค้นพบความผิดปกติท่ามกลางสิ่งที่ดูอย่าง ผิวเผินแล้วเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ต้องเป็นคนช่างสงสัยเมื่อเห็นความผิดปกติไม่ละเลยไป แต่หยุดพิจารณาขบคิดไตร่ตรอง และต้องเป็นคนช่างถาม ชอบตั้งคำถามกับตัวเองและคนรอบ ๆ ข้าง เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การคิดต่อเกี่ยวกับเรื่องนั้น การตั้งคำถามจะนำไปสู่การสืบค้นความจริง และเกิดความชัดเจนในประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์
            4. ขอบเขตคาถามที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ จะยึดหลักการตั้งคาถามโดยใช้คาว่า ใคร (Who) ทำอะไร (What) ที่ไหน (Where) เมื่อไร (When) ทำไม (Why) อย่างไร (How) คาถามเหล่านี้อาจไม่จาเป็นต้องใช้ทุกข้อ เพราะการตั้งคำถามมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจน ครอบคลุมและตรงประเด็นที่เราต้องการสืบค้น
            5. ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล นักคิดเชิงวิเคราะห์จะต้องมีความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
            นักคิดเชิงวิเคราะห์จึงต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้เหตุผล จำแนกแยกแยะได้ว่า สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งใดเป็นความเท็จ สิ่งใดมีองค์ประกอบในรายละเอียดเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร เป็นเหมือนคนที่ใส่แว่นเพื่อดูภาพยนตร์ 3 มิติ ขณะที่คนทั่วไปไม่ได้ใส่แว่นจะดูไม่รู้เรื่อง เพราะจะเห็นเป็น 2 มิติที่เป็นภาพระนาบ แต่เมื่อใส่แว่นแล้วเราจะเห็นภาพในแนวลึก มองเห็นความซับซ้อนที่อยู่ภายใน รู้ว่าแต่ละสิ่งจัดเรียงลำดับกันอย่างไร รู้เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการกระทำ รู้อารมณ์ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังสีหน้าและการแสดงออก การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทำให้เราได้ข้อเท็จจริงที่เป็นฐานความรู้ในการ นำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาการประเมินและการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง จากแนวคิดที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ลักษณะของการคิดวิเคราะห์โดยใช้คาถาม 5W 1H เป็นความสามารถในการแยกแยะเพื่อหาส่วนย่อยของเหตุการณ์ เรื่องราวหรือเนื้อหาเป็นการกาหนดหรือนิยามสิ่งที่จะวิเคราะห์ กำหนดจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ พิจารณาประเด็นตามหลักการวิเคราะห์ ตั้งข้อสันนิษฐาน วิจารณ์ แปลความ เลือกสรรข้อมูล เพื่อช่วยในการประเมินค่า นำไปสู่การวินิจฉัยและตัดสินใจ
    

         3.2 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลคืออะไร? (อ้างอิง)

            วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล มุ่งเน้นไปที่วิธีการเชิงกลยุทธ์ในการรับข้อมูลดิบ เพื่อความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายหลักของธุรกิจและเจาะลึกลงไปในข้อมูลนี้เพื่อแปลงตัวชี้วัดข้อเท็จจริง และตัวเลขเป็นโครงการริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงมีวิธีการต่าง ๆ สำหรับ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสองประเด็นหลัก: วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ

 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

        ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการในการวิจัยเชิงปริมาณรวมถึงข้อมูลเชิงลึกเชิงคุณภาพจะทำ การวิเคราะห์ข้อมูลของคุณมีทิศทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนั้นจึงคุ้มค่าที่ศึกษาแนวทางดังนี้

         วิธีการและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล 10 อันดับแรก
         วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอนนี้เราได้ตอบคำถามว่า ‘การวิเคราะห์ข้อมูลคืออะไร’ ซึ่งพิจารณาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลประเภทต่าง ๆ ถึงเวลาที่จะต้องเจาะลึกลงไปถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทำงานผ่านองค์ประกอบสำคัญ 10 ประการเหล่านี้

             1. ประสานความต้องการของคุณ
            ก่อนที่คุณจะเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลของคุณหรือเจาะลึกลงไปในเทคนิคการวิเคราะห์ใด ๆ มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะนั่งร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมดในองค์กร เพื่อตัดสินใจในแคมเปญหลักหรือเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของคุณและได้รับความเข้าใจพื้นฐาน เป็นประโยชน์สูงสุดต่อความก้าวหน้าของคุณหรือให้ระดับการมองเห็นที่คุณต้องการในการพัฒนาองค์กรของคุณ อย่าให้เป็นหน้าที่ของพนักงานผู้ปฏิบัติงาน เพราะจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง จะทำให้การทำงานถัดไปถูกต้องด้วย
            ข้อห้าม สำหรับ กระดุมเม็ดแรก คือ อย่าเอาคนที่มองเป้าหมายส่วนตัว มากำหนดทิศทาง เพราะทุกอย่างจะผิดไปหมด

             2. สร้างคำถามของคุณ
            เมื่อคุณสรุปวัตถุประสงค์หลักของคุณแล้วคุณควรพิจารณาว่าจะต้องตอบคำถามใดเพื่อช่วยให้คุณบรรลุภารกิจ นี่เป็นหนึ่งในเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญที่สุดเพราะจะเป็นรากฐานของความสำเร็จของคุณ การหาค่าตัวแปลที่เกี่ยวข้องไม่ใช่ว่า จะมีตัวแปลใดสำคัญที่สุด แต่ให้หาให้ได้มากที่สุด แล้วจึงค่อยนำตัวแปลที่คิดว่ามาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพราะตัวแปลที่หาได้ จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเสมอ ที่จะช่วยให้คุณถามสิ่งที่ถูกต้องและมั่นใจว่าข้อมูลของคุณทำงานสำหรับคุณคุณต้องถามที่เหมาะสมคำถามการวิเคราะห์ข้อมูล
        ข้อห้าม อย่าคิดว่าคำตอบของทุกคำถามมีคำตอบเดียว จงหาความเป็นไปได้ในทุกแง่มุมเก็บไว้

            3. เก็บข้อมูลของคุณ
            หลังจากให้แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณไปในทิศทางที่ถูกต้องและรู้ว่าต้องตอบคำถามใดเพื่อดึงคุณค่าที่เหมาะสมจากข้อมูลที่มีให้กับองค์กรของคุณคุณควรตัดสินใจเลือกแหล่งข้อมูลที่มีค่าที่สุดของคุณและเริ่มรวบรวมข้อมูลเชิงลึก การจัดเก็บข้อมูลทำได้ในหลายแบบ ซึ่งสามารถดูได้ในหัวข้อ Data Warehouse
            ข้อห้าม อย่าคิดว่าสิ่งที่ทำถูกต้อง อย่ายึดติด เพราะความถูกต้อง ณ. เวลานี้ พรุ่งนี้ก็เปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องทำให้ระบบพร้อมสำหรับการหาคำตอบใหม่ ๆ อยู่เสมอ

            4. ตั้งค่า KPI ของคุณ
            เมื่อคุณตั้งค่าแหล่งข้อมูลของคุณแล้วเริ่มรวบรวมข้อมูลดิบที่คุณคิดว่าจะให้คุณค่าที่เป็นไปได้และสร้างคำถามที่ชัดเจนที่คุณต้องการให้ข้อมูลเชิงลึกที่จะตอบคุณต้องตั้งโฮสต์ของตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) ที่จะช่วยคุณ ติดตามประเมินผลและกำหนดความก้าวหน้าของคุณในหลาย ๆ ด้านที่สำคัญ
          ตัวชี้วัดที่มีความสำคัญทั้งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ นี่เป็นหนึ่งในวิธีการหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลที่คุณไม่ควรมองข้าม

             5. ละเว้นข้อมูลที่ไร้ประโยชน์
            ด้วยการมอบเทคนิคและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีจุดประสงค์ที่แท้จริงและกำหนดภารกิจของคุณคุณควรสำรวจข้อมูลดิบที่คุณรวบรวมจากแหล่งข้อมูลทั้งหมดและใช้ KPI ของคุณเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการตัดข้อมูลใด ๆ ที่คุณคิดว่าไร้ประโยชน์
            การตัดไขมันข้อมูลให้เป็นหนึ่งในวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญที่สุดเพราะจะช่วยให้คุณสามารถมุ่งเน้นการวิเคราะห์และบีบค่าทุกหยดจากข้อมูล ‘ยัน’ ที่เหลืออยู่
            สถิติข้อมูลตัวเลขหรือตัวชี้วัดใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจของคุณหรือสอดคล้องกับกลยุทธ์การจัดการ KPIของคุณควรถูกกำจัดออกจากสมการ

            6. ดำเนินการวิเคราะห์ทางสถิติ
            หนึ่งในวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือการวิเคราะห์ทางสถิติวิธีการวิเคราะห์ประเภทนี้มุ่งเน้นไปที่แง่มุมต่าง ๆ รวมถึงคลัสเตอร์การศึกษาการถดถอยปัจจัยและเครือข่ายประสาทและในที่สุดจะทำให้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณมีทิศทางที่เป็นตรรกะมากขึ้น
          นี่คือคำศัพท์สั้น ๆ ของคำศัพท์ทางสถิติที่สำคัญเหล่านี้สำหรับการอ้างอิงของคุณ:
            กลุ่ม:การกระทำของการจัดกลุ่มชุดขององค์ประกอบในลักษณะที่กล่าวว่าองค์ประกอบนั้นมีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น
            Cohort:  ชุดย่อยของการวิเคราะห์พฤติกรรมที่รับข้อมูลเชิงลึกจากชุดข้อมูลที่กำหนด (เช่นเว็บแอปพลิเคชันหรือ CMS) และแทนที่จะมองทุกอย่างเป็นหน่วยเดียวที่กว้างขึ้นแต่ละองค์ประกอบจะแบ่งย่อยเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
            การถดถอย:ชุดของกระบวนการทางสถิติที่ชัดเจนโดยมีศูนย์กลางที่การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มหรือรูปแบบเฉพาะ
            ปัจจัย:การฝึกสถิติใช้เพื่ออธิบายความแปรปรวนระหว่างตัวแปรที่สังเกตและมีความสัมพันธ์กันในแง่ของจำนวนตัวแปรที่ไม่ได้สังเกตเห็นที่เรียกว่า ‘ปัจจัย’ จุดมุ่งหมายที่นี่คือการเปิดเผยตัวแปรแฝงอิสระ
            โครงข่ายประสาทเทียม:โครงข่ายประสาทเทียมเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ของเครื่องซึ่งครอบคลุมเกินกว่าจะสรุปได้ – แต่คำอธิบายนี้จะช่วยให้คุณวาดภาพที่ครอบคลุมอย่างเป็นธรรม

            7. สร้างแผนงานการจัดการข้อมูล
            ในขณะที่ ณ จุดนี้ขั้นตอนนี้เป็นทางเลือก (คุณจะได้รับข้อมูลเชิงลึกและสร้างกลยุทธ์ที่เป็นธรรมในขณะนี้) การสร้างแผนงานการกำกับดูแลข้อมูลจะช่วยให้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคนิคของคุณประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น รากฐาน แผนที่ถนนเหล่านี้หากได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องจะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้พวกเขาสามารถปรับแต่งและปรับขนาดเมื่อเวลาผ่านไป
            ลงทุนเวลาอย่างเพียงพอในการพัฒนาแผนงานที่จะช่วยให้คุณจัดเก็บจัดการและจัดการข้อมูลของคุณภายในและคุณจะทำให้เทคนิคการวิเคราะห์ของคุณราบรื่นและใช้งานได้มากขึ้นซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทรงพลังที่สุดในปัจจุบัน

            8. ผสานรวมเทคโนโลยี
            มีหลายวิธีในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่หนึ่งในแง่มุมที่สำคัญที่สุดของความสำเร็จในการวิเคราะห์ในบริบททางธุรกิจคือการบูรณาการซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกต้อง
            แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ที่แข็งแกร่งจะไม่เพียง แต่ช่วยให้คุณสามารถดึงข้อมูลที่สำคัญจากแหล่งข้อมูลที่มีค่าที่สุดของคุณในขณะที่ทำงานกับ KPI แบบไดนามิกที่จะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ก็ยังจะนำเสนอข้อมูลในย่อยภาพ, รูปแบบการโต้ตอบจากใจกลางเมืองหนึ่งแดชบอร์ดสด วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่คุณวางใจได้
          ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการทางสถิติและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลหลักคุณจะหลีกเลี่ยงการแยกส่วนข้อมูลเชิงลึกของคุณประหยัดเวลาและความพยายามในขณะที่ให้คุณเพลิดเพลินไปกับมูลค่าสูงสุดจากข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าที่สุดของธุรกิจ
          หากต้องการดูพลังของซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและเพื่อปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณให้ดูตัวอย่างแดชบอร์ดที่เราเลือก

           9. ตอบคำถามของคุณ
            ด้วยการพิจารณาแต่ละความพยายามข้างต้นการทำงานกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมและส่งเสริมวัฒนธรรมภายในที่เหนียวแน่นซึ่งทุกคนซื้อวิธีที่แตกต่างในการวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงพลังของความฉลาดทางดิจิทัลคุณจะเริ่มตอบธุรกิจการเผาไหม้ที่รวดเร็วที่สุดของคุณ คำถาม วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้แนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณสามารถเข้าถึงได้ทั่วทั้งองค์กรคือการสร้างภาพข้อมูล

           10. เห็นภาพข้อมูลของคุณ
            การสร้างภาพข้อมูลออนไลน์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยให้คุณบอกเล่าเรื่องราวด้วยตัวชี้วัดของคุณช่วยให้ผู้ใช้ทั่วทั้งธุรกิจสามารถดึงข้อมูลเชิงลึกที่มีความหมายซึ่งช่วยในการวิวัฒนาการธุรกิจ – และครอบคลุมวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
         วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะทำให้ทั้งองค์กรของคุณมีข้อมูลมากขึ้นและชาญฉลาดและมีแพลตฟอร์มที่เหมาะสมหรือแดชบอร์ดนี้เป็นง่ายกว่าที่คุณคิดว่าเป็นของเราแสดงให้เห็นโดยแดชบอร์ดการตลาด

          ตัวชี้วัดหลัก:
            o  อัตราตีกลับ
            o  ระยะเวลาเซสชันเฉลี่ย
            o  อัตราการแปลงเป้าหมาย
            o  อัตราการแปลงหน้า Landing Page
           การเจาะลึกกว่าข้อมูลผู้ใช้ที่ให้บริการโดย Google Analytics (GA) เพียงอย่างเดียวแดชบอร์ดออนไลน์ที่มีภาพไดนามิกและอินเทอร์แอคทีฟนี้แสดงพฤติกรรมของผู้ใช้และผู้เยี่ยมชมไซต์ของคุณนำเสนอตัวชี้วัดที่หลากหลาย อัตราอัตราการแปลงหน้าที่เชื่อมโยงไปถึงและอัตราการแปลงเป้าหมายสร้างรายงานการตลาดแบบครอบคลุมที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบและปรับเพิ่มเติมได้


 4. โรงเรียนเป็นเลิศ(อ้างอิง)



              โรงเรียนที่มีความเป็นเลิศมาตรฐานสากล หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศมาตรฐานสากล โดยโรงเรียนยกระดับคุณภาพสูงขึ้นสู่มาตรฐานสากล ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) และตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) เป็นโรงเรียนยุคใหม่ที่จัดการศึกษาแบบองค์รวม และบูรณาการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน กระบวนการด าเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยอาศัยบุคลากรและทรัพยากรต่าง ๆ ผ่านกระบวนการทางบริหาร จนมีผลงานที่มีคุณภาพมุ่งเน้นผลลัพธ์ขององค์กรการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศกระบวนการด าเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยอาศัยบุคลากรและทรัพยากรต่าง ๆ ผ่านกระบวนการทางบริหารจนมีผลงานที่มีคุณภาพมุ่งเน้นผลลัพธ์ขององค์กร องค์กรสู่ความเป็นเลิศ หมายถึงองค์การที่มีความสามารถโดดเด่นมีการพัฒนาศักยภาพของคนผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อคุณภาพการศึกษาระดับสูง และใช้ทรัพยากรในการบริหารอย่างคุ้มค่า จากความหมายของโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศมาตรฐานสากลสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้
          1. ความสามารถโดดเด่น หมายถึง ความสามารถทางด้านบุคคลความสามารถในการบริหารจัดการ ความสามารถในด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างผลผลิต ความสามารถในการปรับตัวของโรงเรียนตามสถานการณ์ และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
          2. พัฒนาศักยภาพของคนผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนาคนทั้ง 2กลุ่ม ได้แก่ระดับเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและกลุ่ม โดยการสร้างแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายความรู้ทั่วไป
          3. นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อคุณภาพการศึกษาระดับสูง หมายถึง องค์ความรู้ที่เหมาะสม ประกอบด้วย นวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางด้านการปฏิบัติงาน
          4. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมายถึง การใช้ทรัพยากรทางการบริหารอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

      4.1 คุณลักษณะของโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศมาตรฐานสากล
          โรงเรียนที่มีความเป็นเลิศมาตรฐานสากลต้องมีคุณลักษณะที่มีการสร้างและใช้ความรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการศึกษา คือ คุณภาพการศึกษาในระดับสูง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ คน โครงสร้าง งานและ เทคโนโลยี
            คุณลักษณะของโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศมาตรฐานสากลพิจารณาตามกรอบแนวคิด ดังนี้
                คน ได้แก่ ระดับเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
                ระดับปัจเจกบุคคล ต้องมีลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตามวินัย 5 ประการของ Peter
                M. Senge (2016) คือ มีความรอบรู้แห่งตน หรือ ทักษะในการพัฒนาตนเองเพื่อการบรรลุเป้าหมาย(Personal Mastery) มีแบบแผนความคิดอ่าน หรือโลกทัศน์ (Mental Models) มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision Building) มีการเรียนรู้ของทีม (Team Learning) และมีการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
                ระดับกลุ่ม ต้องมีคุณลักษณะเป็นทีม ชุมชนนักปฏิบัติ
                โครงสร้าง มีลักษณะเป็นโครงสร้างที่มีชีวิต (Organic Organization) สามารถเคลื่อนไหวยืดหยุ่น และมีสายการบังคับบัญชาที่สั้นมีลักษณะแบนราบ (Flat)
                งาน มีลักษณะการปฏิบัติงานเป็นทีม (Team Work) และความสามารถในการปฏิบัติงานข้ามสายงาน (Cross-function) แบบทดแทน แลกเปลี่ยนงานได้ด
                เทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ ฐานความรู้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้

          4.2 องค์ประกอบของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศมาตรฐานสากล มีดังนี้
                    1) ผู้บริหารโรงเรียนมีภาวะผู้น า มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีความสามารถในการจัดองค์การ ออกแบบงาน กำหนดทิศทางในการท างาน สร้างบรรยากาศในการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการกระตุ้นให้แรงจูงใจ มีความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง มีเอกภาพของทีม และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปฏิบัติงาน
                   2) การออกแบบงาน ที่มีความเป็นไปได้ทางเทคนิค มีความสามารถในเชิงพัฒนานวัตกรรม และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง มีผลงานเชิงคุณภาพ สำเร็จตามเวลา และงบประมาณ
                    3) องค์การมีกลยุทธ์ ระยะยาวมีวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือ เน้นเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความมั่นคงในเป้าหมาย ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย มีความสามารถในการจัดการความเสี่ยง และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
                    4) คน มีคุณลักษณะความสามารถสูง ต้องการที่จะประสบความสำเร็จร่วมกัน มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีความสามารถในการท างานเป็นทีมและพัฒนาทีมงาน มีการสื่อสารที่ดี และมีส่วนร่วมในการทำงานสูง

        4.3 การบริหารโรงเรียนความเป็นเลิศมาตรฐานสากล
                โรงเรียนความเป็นเลิศมาตรฐานสากลมีหลักการสำคัญในการบริหารโรงเรียน ดังนี้
                   1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
                        การบริหารเชิงกลยุทธ์ เป็นการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อโรงเรียน เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่โรงเรียนที่มีความเป็นเลิศมาตรฐานสากล
                        1.1 สภาพแวดล้อมภายใน หมายถึง ปัจจัยภายในโรงเรียนที่มีผลต่อกลยุทธ์ของโรงเรียน ทั้งนี้ การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนที่มีปัจจัยชี้น าจากสภาพแวดล้อมภายใน ได้แก่
                                1) วิเคราะห์ปัจจัยน าเข้าถึงคุณภาพและคุณลักษณะเพื่อก าหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน    
                                 2) จัดโครงสร้างในการบริหารโรงเรียน และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นระยะ ๆ    
                                 3) กำหนดแนวคิดและวิธีการบริหารเชิงระบบที่มีความยืดหยุ่นและมีพลวัต 
                                 4) กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
                                 5) สร้างค่านิยมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการขยายความรู้ทั่วทั้งโรงเรียน
                                  6) ใช้ความรู้เป็นฐานในการบริหารโรงเรียน
                                  7) จัดทำแผนงบประมาณแบบมุ่งผลสมฤทธิ์แบบสมดุลทั่วทั้งองค์การ

                            1.2 สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง ปัจจัยจากภายนอกโรงเรียนที่มีผลกระทบกับการบริหารจัดการของโรงเรียนในด้านการเป็นโอกาสหรือการเป็นอุปสรรคของโรงเรียนในการด าเนินงานของโรงเรียน ได้แก่
                                    1) กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา
                                    2) กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เครือข่ายการพัฒนาศักยภาพวิชาการ
                                    3) กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

                    ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ มาตรฐานสากล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
                    1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Analysis) โดยพิจารณาจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในโรงเรียน และโอกาส-อุปสรรค จากภายนอกโรงเรียน ทั้งที่เป็นปัจจัยเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุความสำเร็จของโรงเรียน ปัจจัยเงื่อนไขในระยะเวลาที่ผ่านมา และเงื่อนไขในอนาคต
                    2) การจัดวางทิศทางของโรงเรียน (Establishing Organization Direction) โดยพิจารณาภารกิจและก าหนดเป้าประสงค์ของโรงเรียนเพื่อให้บรรลุภารกิจ
                    3) การกำหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation) โดยพิจารณาออกแบบและเลือก กลยุทธ์ที่เหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงจากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
                    4) การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ (Strategic Implementation) โดยดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงโครงสร้างของโรงเรียน และวัฒนธรรมองค์การ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่พึงประสงค์
                    5) การควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control) โดยทำการติดตามผลการปฏิบัติงาน และทำการประเมินผลกระบวนการ และประเมินผลสำเร็จของโรงเรียน

5. ประเภทของโรงเรียน
โรงเรียนหรือสถานศึกษา หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยโรงเรียนศูนย์การเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยรู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง จากความหมายและจุดมุ่งหมายของโรงเรียนหรือสถานศึกษาข้างต้น สามารถสรุปประเภทของโรงเรียนได้ ดังนี้ (อ้างอิง)
    1. โรงเรียนรัฐบาล
           “เรียนโรงเรียนรัฐบาล (รวมถึงมหา’ลัย) โดยทั่วไปมักจะประถมหรือมัธยมโรงเรียนที่ให้การศึกษาแก่เด็กทุกคนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย พวกเขาจะได้รับการสนับสนุนในทั้งหมดหรือบางส่วนโดยการจัดเก็บภาษี โรงเรียนที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐมีอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก มีความแปรผันที่สำคัญในโครงสร้างและโปรแกรมการศึกษา การศึกษาของรัฐโดยทั่วไปครอบคลุมการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (อายุ 4 ปีถึง 18 ปี)  ทำให้ได้เห็นสังคมที่ธรรมดา ติดดินแบบสุดๆ เวลาไปค่ายหรือไปทำอะไรที่ลำบาก จะขึ้นรถเมล์ ลงเรือ ทุกคนดูแลตัวเองได้ ไม่เคยมีใครบ่นว่ารู้สึกลำบากเลย ซึ่งข้อนี้ทำให้เราเห็นว่าชีวิตครอบครัวเรา ที่เรามองว่ามันไม่ดีเหมือนคนอื่น พอได้เข้ามาโรงเรียนนี้ ทำให้เราเห็นคุณค่าในชีวิตตัวเองมากขึ้น ว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้มันดีมาก ๆ แล้ว และค่าเทอมไม่แพงมาก สามารถส่งตัวเองเรียนได้ และหากอัตราการแข่งขันเพื่อจะเข้าค่อนข้างสูง ทำให้ได้เพื่อน ได้สังคมดี
            “ทำให้ได้เจอกับคนจากสังคมหลายประเภทมาก ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสได้เรื่องรู้เรื่องต่าง ๆ จากคนที่มาจากสังคมต่างกัน”
            เมื่อถามว่าโรงเรียนรัฐบาลมีจุดเด่นหรือประโยชน์ที่พวกเขาได้รับแบบไหนบ้าง ส่วนใหญ่ศิษย์เก่าโรงเรียนรัฐบาลจะเห็นตรงกันว่าได้ค่าเทอมที่ถูก และได้เห็นสังคมที่หลากหลาย รู้จักการใช้ชีวิตแบบติดดิน ทำให้รู้สึกเหมือนได้ “เตรียมพร้อม” เจอชีวิตต่อจากนี้ ทางฝั่งพ่อแม่ที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนรัฐบาลนั้นส่วนใหญ่ก็เลือกโรงเรียนเพราะค่าเทอมที่ไม่แพง ความมีชื่อเสียง ความใกล้บ้าน และบางส่วนก็เลือกเพราะตัวเองเคยเป็นศิษย์เก่า
            ปฏิเสธไม่ได้ว่าโรงเรียนรัฐบาลนั้นเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่พ่อแม่หลายท่านเลือก เพราะค่าใช้จ่ายที่เมื่อเทียบกับตัวเลือกอื่น ๆ แล้วค่อนข้างย่อมเยาว์ (ประมาณ 3,000-6,000 บาทต่อปี) หลายคนอาจจะคิดว่าใคร ๆ ก็เข้าโรงเรียนประเภทนี้ได้ และอาจถูกมองว่าเป็นตัวเลือกธรรมดาตัวหนึ่ง แต่เอาเข้าจริงโรงเรียนรัฐบาลก็มีการเรียนการสอนที่เข้มข้นไม่แพ้กัน นอกจากนี้ ครูที่จะเข้ามาสอนในโรงเรียนรัฐบาลได้นั้นก็ต้องผ่านการสอบเป็นครูก่อน ทางด้านกฎระเบียบก็จะค่อนข้างเข้มงวด ตั้งแต่ทรงผมจนถึงเครื่องแบบ
            จุดอ่อนคือสภาพแวดล้อมสังคมในโรงเรียน จะปะปนไปทั้งเด็กที่ตั้งใจเรียน เด็กที่ไม่สนใจเรียน   ซึ่งจะแยกห้องกันชัดอยู่แล้ว ตรงนี้มองว่าเป็นจุดอ่อนเพราะถ้าเด็กที่ครอบครัวใส่ใจไม่มากพอ แล้วไปอยู่ในกลุ่มที่ไม่ดี จะพากันเสีย พากันออกนอกลู่นอกทางได้ง่ายมาก คงต้องมีการควมคุม หรือ สอนการใช้ชีวิตในสังคมให้มากขึ้น มากกว่าวิชาการอย่างเดียว”
          “จำนวนอาจารย์น้อยเกินไป หลักสูตรพัฒนาช้า นโยบายเยอะ ขั้นตอนการตัดสินใจเยอะ”
นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของจุดที่เหล่าศิษย์เก่ามองว่ายังเป็นจุดอ่อนอยู่ ซึ่งพ่อแม่ท่านไหนที่อยากส่งลูกเข้าโรงเรียนรัฐบาลก็ควรคำนึงถึงจุดเหล่านี้เช่นกัน

            2. โรงเรียนคาทอลิก (อ้างอิง)
            โรงเรียนคาทอลิก (สมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิก, “โรงเรียนคาทอลิก”, โรม, 1977)  คือสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับการฝึกอบรมคนและคริสตชน  คำแถลงของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการอบรมตามหลักพระคริสตธรรม (Gravissimum Educationis)  “ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ให้ผลอันมีลักษณะพิเศษในประวัติศาสตร์ของโรงเรียนคาทอลิก คือการแปรสภาพจากโรงเรียนในฐานะเป็นสถาบันมาเป็นชุมชน” (สมณกระทรวงการศึกษา, “มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก” เค้าโครงเพื่อการพิจารณา , โรม, 1988, ข้อ 31) 
            โรงเรียนคาทอลิกต่างๆ “มิได้กระตือรือร้นในเรื่องการส่งเสริมวัฒนธรรม  และในเรื่องการฝึกอบรมเยาวชนน้อยไปกว่าโรงเรียนอื่นๆ  อย่างไรก็ตาม โรงเรียนคาทอลิกยังมีบทบาทหน้าที่พิเศษ คือ
            - พัฒนาบรรยากาศในชุมชนโรงเรียนให้มีชีวิตชีวาด้วยความมุ่งมั่นในเรื่องเสรีภาพและเมตตาธรรม 
            - ช่วยเหลือเยาวชนที่กำลังพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองให้ก้าวหน้าขึ้นไปในเวลาเดียวกันกับการเติบโตในชีวิตใหม่ที่พวกเขาได้รับเมื่อตอนรับศีลล้างบาปด้วย
            - ปรับวัฒนธรรมทั้งหมดของมนุษย์ให้สอดคล้องกับสารเรื่องการช่วยให้รอด (ความรอด) (GE 28)
            งานการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิกถูกกำหนดให้พัฒนาไปตามพื้นฐานของแนวคิดที่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เสนอไว้ให้นี้คือ  งานการศึกษาจะบรรลุผลสำเร็จในชุมชนโรงเรียนได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับบรรดาบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานการศึกษาโดยตรง  ซึ่งได้แก่ คณะครู  ผู้จัดการ  คณะผู้บริหาร  ผู้ให้การสนับสนุน และบรรดาผู้ปกครอง  เพราะความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นผู้อบรมตามธรรมชาติที่มิอาจมีใครแทนได้ของบุคคลเหล่านี้ที่มีต่อบรรดาบุตรและนักเรียนของพวกเขา  ทั้งยังเป็นผู้มีส่วนร่วมและผู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในกระบวนการการศึกษา” (สมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิก, “มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก” เค้าโครงเพื่อการพิจารณา , โรม, 1988, ข้อ 32)
             เมื่อนักเรียนส่วนมากที่เข้าโรงเรียนคาทอลิกอยู่ในครอบ ครัวต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวเนื่องกับโรงเรียนด้วยเหตุลักษณะความเป็นคาทอลิกของโรงเรียน  ทำให้โรงเรียนสามารถจัดศาสนบริการด้านพระวาจาได้หลายรูปแบบ เช่น การประกาศพระวรสารขั้นแรก  การ สอนศาสนาในระบบโรงเรียน  การสอนคำสอน  การเทศน์พระคัมภีร์   อย่างไรก็ตาม ในบรรดารูปแบบเหล่านี้มีสองรูปแบบที่มีความสำคัญพิเศษเฉพาะในโรงเรียนคาทอลิก คือการสอนศาสนาในโรงเรียน  และการสอนคำสอนซึ่งมีลักษณะต่างๆเกี่ยวข้องกับแต่ละสิ่งตามที่บรรยายไว้แล้ว (CT 69; อ้างถึง ภาคที่ 1  บทที่ 2  ข้อ 73-76)  แต่เมื่อบรรดานักเรียนและครอบครัวของพวกเขาต้องเข้ามาเกี่ยวเนื่องกับโรงเรียนคาทอลิกต่างๆ   ด้วยเหตุผลทางด้านคุณภาพของการศึกษาที่มีในโรงเรียน  หรือด้วยเหตุผลอื่นๆที่เป็นไปได้  งานด้านการสอนคำสอนจึงจำเป็นต้องถูกจำกัดขอบเขตและรวมถึงการให้การศึกษาด้านศาสนาด้วย   และหากเป็นไปได้ก็ควรเน้นลักษณะด้านวัฒนธรรมของโรงเรียนคาทอลิก  การช่วยเหลือของโรงเรียนคาทอลิกนี้จึงเป็น “งานบริการที่มีคุณค่าอย่างยิ่งแก่มนุษย์ทั้งหลาย” (AG 12c) พร้อมกันนั้นยังเป็นการประกาศพระวรสารแบบเล็กๆ ภายในพระศาสนจักร   เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ต่างๆ ทางด้านสังคม วัฒนธรรม  และด้านศาสนา ที่ซึ่งงานของโรงเรียนคาทอลิกต้องมีส่วนร่วมในหลายๆ ประเทศ เป็นโอกาสเหมาะที่บรรดาพระสังฆราชและสภาพระสังฆราชจะกำหนดประเภทของงานด้านการสอนคำสอนที่จะต้องทำให้สำเร็จในโรงเรียนคาทอลิกต่าง ๆ
             3. โรงเรียนสาธิต
             โรงเรียนสาธิต เป็นโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อเป็นสถานฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาในคณะนี้ ดังนั้น นอกจากจะมีแค่ครูบาอาจารย์วัยผู้ใหญ่แล้ว นักเรียนก็จะได้เรียนกับนิสิตนักศึกษาฝึกสอนด้วย ซึ่งก็อาจนำมาซึ่งวิธีการเรียนการสอนใหม่ๆ และวิธีคิดที่นอกกรอบ ผู้สอนมีช่วงอายุที่ใกล้เคียงกับนักเรียนมากขึ้น จึงมีแนวโน้มเชื่อมสัมพันธ์กันได้ง่ายขึ้น
            นอกจากนี้ เด็ก ๆ ที่เรียนโรงเรียนสาธิตก็จะได้รับการเตรียมพร้อมอย่างครบครันหากหวังจะเข้ามหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่กำกับดูแล นอกจากนี้โรงเรียนสาธิตยังมีตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมปลาย สามารถเรียนได้อย่างยาว จนกว่าจะจบระดับที่ตนต้องการ และไม่ต้องเผชิญการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพียงแต่ว่าการเข้าเรียนสำหรับเด็กใหม่ก็จะค่อนข้างยาก ต้องสอบแข่งขันกันในด้านวิชาการ จึงเชื่อกันว่าเด็กสาธิตจะวิชาการแน่นสุดๆ (ข้อมูลเพิ่มเติม)

            4. โรงเรียนทางเลือก (อ้างอิง)
            โรงเรียนทางเลือกคือโรงเรียนที่มีแนวการเรียนการสอนต่างจากโรงเรียนหรือการศึกษากระแสหลัก โดยโรงเรียนทางเลือกเป็นโรงเรียนที่มีกฎหมายรองรับและจัดการศึกษาที่อิงกับระบบของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนทางเลือกจดทะเบียนจัดตั้งเป็นโรงเรียนในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) หรือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
             เนื่องจากนิยามของโรงเรียนทางเลือกค่อนข้างกว้าง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนทางเลือกจะหมายถึงโรงเรียนที่มีแนวการสอนในแบบเฉพาะตัวที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนบางอย่างสำหรับเด็กเฉพาะกลุ่ม ซึ่งโรงเรียนทางเลือกบางโรงเรียนจะมีแนวการสอนแบบเดียว หรือโรงเรียนทางเลือกบางโรงเรียนจะมีแนวการสอนแบบผสมผสาน เช่น ในชั้นเนอสเซอรี่และอนุบาล 1 ใช้การเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ (Montesori) ต่อมาในชั้นอนุบาล 2 จะเปลี่ยนเป็นแบบโครงการ (Project Approach) ในระดับชั้นอนุบาล3 ก็จะเป็นแบบไฮสโคป (High Scope) เป็นต้น
             เพื่อให้เข้าใจรูปแบบของโรงเรียนทางเลือกให้มากขึ้น จึงมีการให้ความหมายของโรงเรียนทางเลือกไว้ 4 ลักษณะดังนี้
            1. โรงเรียนทางเลือก คือ โรงเรียนที่มีแนวการศึกษาต่างจากการศึกษากระแสหลัก เช่น จากเดิมที่เน้นให้เด็กเรียนเรียนรู้อยู่ในแต่ในห้องเรียน ท่องหนังสือ คัดลอกบทเรียน หรือสอบด้วยการเลือกข้อที่ใดข้อหนึ่งที่ถูกต้อง มีการปรับแนวการสอนมาให้เด็กเรียนรู้จากนอกห้องเรียน เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ รู้จักตั้งคำถามเอง กล้าที่จะนำเสนอความต้องการของตัวเองและสิ่งที่อยากรู้ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
            2. โรงเรียนทางเลือก คือ โรงเรียนที่มีแนวการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มพิเศษ โดยจะมีการปรับการสอนและแนวคิดเพื่อให้ตรงกับกลุ่มเด็กเฉพาะ เช่น เด็กมีปัญหาด้านพฤติกรรม เด็กที่มีแนวโน้มเลิกเรียนกลางคัน หรือเด็กอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะเรียนกับแนวการศึกษาปกติไม่ได้ เพราะอาจจะเรียนไม่ทัน แนวการสอนไม่ตรงกับการปรับพฤติกรรม เป็นต้น
            3. โรงเรียนทางเลือก คือ โรงเรียนที่มีแนวการศึกษาหลากหลาย และตอบสนองต่อความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก โดยยึดหลักการที่ว่ามนุษย์แต่ละคนมีความต้องการที่ต่างกัน ดังนั้นแนวการศึกษาจึงต้องหลากหลายและยึดความต้องการของผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และเชื่องโยงกับชีวิตจริง สังคมแวดล้อมของผู้เรียน
            4. โรงเรียนทางเลือก คือ โรงเรียนที่มีความเป็นอิสระสูงจากการกำกับของรัฐ ทำให้โรงเรียนสามารถกำหนดหลักสูตร การประเมินผลการศึกษาของหลักสูตรได้อย่างอิสระและมีการวัดผลที่ชัดเจนกว่าการควบคุมของรัฐ
            โรงเรียนทางเลือกมีแนวการสอนอย่างไร
            หากดูจากนิยามของโรงเรียนทางเลือกที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นว่าโรงเรียนทางเลือกค่อนข้างมีความหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับว่าโรงเรียนนั้นๆ จะเน้นแนวการศึกษาหรือการสอนอย่างไร เหมาะกับเด็กกลุ่มใด หรือต้องการเน้นการสอนเรื่องใดเป็นพิเศษ
             ดังนั้นแนวการสอนของโรงเรียนทางเลือกจึงขึ้นอยู่กับแนวคิดและหลักการที่โรงเรียนนำมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับเด็ก หรือความต้องการของเด็กมากที่สุด ซึ่งแต่ละแนวการสอนจะมีจุดแข็งเป็นของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็จะมีจุดอ่อนที่พ่อแม่เองควรจะเป็นผู้ส่งเสริมหรือ หาวิธีเสริมจุดอ่อนนั้นๆ เข้าไปทีละน้อยเพื่อให้ลูกได้พัฒนาตัวเองอย่างครบถ้วน
             กิจกรรมและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนทางเลือก
             โรงเรียนทางเลือกเป็นโรงเรียนที่จะจัดกิจกรรมและดูแลกิจวัตรประจำวันให้เด็ก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ด้วยการให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนานผ่านการเล่นและทำกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือทำ ดังนั้นจะเห็นภาพเด็กลงมือทำกิจกรรมกันอย่างเพลิดเพลิน ทั้งในและนอกห้องเรียน
             กิจกรรมของโรงเรียนทางเลือกมีความหลากหลาย เด็กๆ จะได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อมบ้าง กลุ่มใหญ่บ้าง เป็นรายบุคคลบ้างสลับกันไป หากสังเกตให้ดีจะพบว่ากิจกรรมที่เด็กๆ ลงมือทำนั้นได้ผสมผสานพื้นฐานทักษะวิชาต่างๆ เช่น ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าไปอย่างแนบเนียน จึงไม่ใช่การเล่นสนุกไปวันๆ แต่เป็นการเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีคุณครูคอยสนับสนุนและกระตุ้นให้เด็กคิด แสวงหาคำตอบจากสิ่งที่สงสัย
             การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนทางเลือกจะมีมุมการเรียนรู้อยู่โดยทั่ว ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมบ้าน มุมเกมการศึกษา มุมศิลปะ มุมสวนดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีมุมแสดงผลงานของเด็กๆ ปรากฏให้เห็นตามบอร์ดต่างๆ และผลงานมีความหลากหลายตามความคิด จินตนาการและความสามารถของเด็ก บรรยากาศในห้องเรียนดูผ่อนคลาย ครูและเด็กมีความสุข
            โรงเรียนทางเลือก คุณครูก็สำคัญ
            สำหรับโรงเรียนทางเลือก ครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน การประยุกต์ใช้นวัตกรรมการสอนหรือแนวการสอนที่หลากหลายทำให้ครูในโรงเรียนทางเลือกจะต้องผ่านการคัดเลือกและทดสอบเพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพมากที่สุดและเป็นที่ต้องการมากกว่าโรงเรียนปกติทั่วไป ดังนั้นครูในโรงเรียนทางเลือกจะมีสัดส่วนต่อนักเรียนมากกว่าครูในโรงเรียนทั่วไป มีความศึกษาระดับสูง มีความพร้อมในการปรับตัวสูง มีจิตวิทยาสูง มีความเอาใจใส่สูงกว่าโรงเรียนทั่วไป เพื่อให้ครูสามารถดูแลและให้คำปรึกษากับเด็กได้อย่างใกล้ชิดและทั่วถึง
             โรงเรียนทางเลือกเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่พ่อแม่ให้ความสนใจเพราะแนวการสอนที่เหมาะกับพฤติกรรม ความสนใจของลูกๆ แต่การเลือกโรงเรียนให้ลูกนอกจากจะเลือกจากแนวการสอนที่จะส่งเสริมศักยภาพของลูกให้เด่นขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น สภาพแวดล้อม การเดินทาง ค่าเทอม รวมถึงความพร้อมของลูก ดังนั้นก่อนเลือกโรงเรียนให้ลูก พ่อแม่จะต้องพิจารณาหลายๆ ปัจจัยเพื่อเลือกโรงเรียนที่คาดว่าน่าจะมอบสิ่งดีๆ ให้ลูกได้ทั้งการศึกษา สังคม สภาพจิตใจ รวมถึงฐานะ
            5. โรงเรียนสองภาษา
            โรงเรียนสองภาษา (Bilingual) มีหลักสูตรที่ต่อยอดมาจากหลักสูตรการเรียนการสอนแบบไทยปกติ หมายความว่าหลักสูตรก็ยังอิงอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ เรียนเหมือนโรงเรียนไทยทุกอย่าง จำนวนนักเรียนต่อห้องก็คล้ายคลึงกับโรงเรียนไทย คืออาจมีเยอะถึง 60 คนต่อห้องเหมือนโรงเรียนไทยไปเลย แต่ที่ต่างคือการเรียนการสอนนั้นใช้ภาษาอังกฤษแทน ถึงอย่างนั้น แต่ละโรงเรียนก็มีสัดส่วนการสอนเป็นภาษาอังกฤษแตกต่างกันไป ซึ่งจำนวนขั้นต่ำนั้นกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ โดยกำหนดการเรียนสองภาษาในแต่ละระดับชั้น ดังนี้ 
            ระดับอนุบาลสอนภาษาอังกฤษได้ไม่เกิน 50% ของการเรียนการสอนทั้งหมด 
            ระดับประถมสอนภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา เป็นต้น
            นอกจากจะมีแยกเป็นโรงเรียนเดี่ยวแล้ว ยังมีโรงเรียนไทยประเภทที่กล่าวถึงด้านบนบางแห่งที่มีหลักสูตรสอนเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) แบบนี้ก็อาจนับรวมเป็นโรงเรียนสองภาษาได้เช่นกัน
โรงเรียนสอนภาษาจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกรู้ภาษาอังกฤษ ยังคงความเป็นไทยในหลักสูตรวิชาบางส่วนไว้ ในค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเกินไป ต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 80,000 ถึงแสนต้นๆ 

    6. โรงเรียนนานาชาติ
    หลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ
    โรงเรียนนานาชาติจะมีอยู่ 3 หลักสูตรใหญ่ๆคือ
        1. โรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกัน หรือ American English การสอนและบทเรียนใช้ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่มีหลักการที่สำคัญ คือ คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการสร้างความรู้ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยเรียกระดับชั้นป็น Grade ซึ่งจะแบ่งดังนี้
อนุบาล 1 - 3 เรียกว่า kindergarten (KG)
อายุ 3-4 ปี อนุบาล 1 = kindergarten 1 หรือ K 1
อายุ 4 ปี อนุบาล 2 = kindergarten หรือ K 2
อายุ 5 ปี อนุบาล 3 = kindergarten หรือ K 3
ระดับประถมศึกษา หรือ ป.1 – ป.6 = elementary school (ES)
อายุ 6 ปี - 11 ปี เรียน ป.1 - ป. 6 = grade 1 – grade 6
ระดับมัธยมศึกษา 1 - มัธยมศึกษา 3 = middle school (MS)
อายุ 12 ปี - 14 ปี เรียน มัธยม 1 - มัธยม 3 = grade 7 - grade 9
ระดับมัธยมศึกษา 4 - 6 = high school (HS)
อายุ 15 ปี - อายุ 17-19 ปี เรียน มัธยม 4 - มัธยม 6 = grade 10 – grade 12
ในระดับไฮสกูล( มัธยม 5 ถึงม. 6) จะเรียนหลักสูตร Business คือหลักสูตร International Baccalaureate Diploma Programme หรือเรียกย่อว่า IB ถ้าจบหลักสูตรนี้แล้วจะสามารถศึกษาต่อมหาวิทยาลัยได้ทั่วโลก
  หลักสูตร IB นอกจากเรียนแล้ว ยังเน้นกิจกรรม เน้นทักษะ การเรียนรู้การเอาตัวรอด การแก้ปัญหา หรือ ปรัชญาการเรียนรู้เน้นเรื่อง การเปลี่ยนวิกฤตต่างๆ ให้เป็นเรียนรู้ หรือโอกาสเน้นกิจกรรมช่วยเหลือสังคม เน้นการเข้าสังคมอีกด้วย
        2 .โรงเรียนนานาชาติหลักสูตรสหราชอาณาจักร หรือประเทศอังกฤษ มีรูปแบบการสอนและแบบเรียนตามกฏตามกระทวงศึกษาธิการของประเทศอังกฤษ โดยหลักสูตรจะเน้นการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และเน้นการเรียนมากกว่ากิจกรรม เมื่อเรียนถึงชั้นไฮสกูลจะเรียนหลักสูตร A-Level แบบ British American เรียกระดับชั้นเป็น year
อายุ 5 ปี เรียนอนุบาลปีเดียว เรียก year 1
อายุ 6 – 11 ปี เรียนประถมศึกษาปี 1 – 6 เรียก year 2 – year 7
อายุ 12 – 14 ปี เรียนมัธยมศึกษาปี 1 – 3 เรียก year 8 – year 10
อายุ 15 – 17 ปี เรียนมัธยมศึกษา ปี 4 – 6 ไฮสกูล เรียก year 11 – year 13

    3.ระบบนานาชาติ (International Baccalaureate Program) เป็นหลักสูตรที่เน้นกระบวนการที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามช่วงพัฒนาการของเด็ก โดยหลักสูตร Early Years และ Middle Years นี้ จะนำไปสู่หลักสูตร IB Diploma ขั้นต่อไปเพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนที่มุ่งเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากเด็กจะเรียนรายวิชาทั้งสิ้น 6 วิชา (รวมทั้งภาษาต่างประเทศหนึ่งภาษา เช่น ภาษาไทย) ก็ยังมีการเขียน essay และการทำกิจกรรมสร้างสรรค์บริการและช่วยเหลือสังคม (CAS:Creative Action and Services) อีกด้วย ระบบนี้จะเน้นที่ความเป็นนานาชาติและสากล
  โรงเรียนนานาชาติ, international school, หลักสูตรต่างประเทศ, หาโรงเรียน, เลือกโรงเรียน, โรงเรียนอนุบาล, โรงเรียนประถม, แนะนำโรงเรียน, ข้อมูลโรงเรียน, ประเภทโรงเรียน, หลักสูตรการเรียน, หลักสูตรการศึกษา, school zone, โรงเรียนใกล้บ้าน, โรงเรียนดี, โรงเรียนเด็กเก่ง, สอบเข้าเรียน, สมัครเข้าเรียน, นักเรียน, วัยเรียน, เด็กอนุบาล, การศึกษา, การเรียน, โรงเรียนใหม่แห่งประเทศไทย (NIST), โรงเรียนโรงเรียนเซนต์ สตีเฟ่นส์ นานาชาติแห่งใหม่


6. สภาพแวดล้องของโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน (โควิด)
      จากความหมายของสภาพแวดล้อมของโรงเรียนในหัวข้อที่ "ความหมาย" จะเห็นได้ว่า สภาพแวดล้อมของโรงเรียน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงเรียน เช่น อาคารต่าง ๆ ห้องเรียน ห้องสนับสนุนการเรียนรู้ ห้องจริยธรรม ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ เป็น หากอยู่ในสถานการณ์ปกติ (ไม่มีโควิด) การจัดการเรียนการสอนก็มีการจัดอยู่ในห้องเรียน (On-Site) ปกติ แต่ด้วยเกิดเหตุการดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบ Online ทำให้การจัดการเรียนการสอนแบบเดิมที่ใช้แค่ทักษะการบรรยาย การจัดการเรียนแบบห้องเรียนจึงใช้ไม่ได้ และสภาพแวดล้อมของการเรียนก็เปลี่ยนไป ครูจำเป็นต้องมีทักษะด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการจัดทดสอบใบประกอบวิชาชีครู ที่ได้บรรจุรายวิชา การสื่อสารและเทคโนโลยี มาเป็นส่วนหนึ่งของการสอนด้วย
    ด้วยเหตุผลดังกล่าวสภาพแวดล้อมของโรงเรียนจึงเปลี่ยนไป และการสนับสนุนสิ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดจัดการเรียนการสอนก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ เช่น การสนับสนุนห้องเรียนออนไลน์ เช่น โปรแกรม Zoom, Google Meet, Microsoft Team เป็นต้น
   ดังนั้น สภาพแวดล้อมจึงเปลี่ยนจากเดิม และผู้ที่จะกำหนดสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนรู้จึงเป็นครูประจำรายวิชา ที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียน เนื่องจากต้องสอนออนไลน์ นักเรียนไม่ได้เข้าเรียนตามปกติ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนจึงไม่จำเป็นนั้นเอง


 

ความคิดเห็น