จรรยาบรรณในวิชาชีพครูที่พึงประสงค์

มาวิน  โทแก้ว นักวิชาการมือใหม่*
บทนำ
           อาชีพครูเป็นอาชีพที่สร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองและต่อเด็กเยาวชนผู้ที่ต้องการความรู้ที่ยังจะต้องศึกษา มันเป็นสิ่งที่สำคัญและมีคุณค่าอย่างมากมาย ฉะนั้นครูต้องมีความมั่นใจในตัวเองให้มากมีความรักมีความรักความชื่อสัตว์ต่อตนเองและต่อสถาบันต่อเพื่อนพ้องในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนการสอน ด้านการศึกษา ปลูกฝังสิ่งที่ดีให้แก่ให้แก่ตนเองและสถาบันไม่ว่าจะด้านไหนเราต้องหมั่นเรียนรู้หมั่นศึกษา เพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพมีประสิทธิภาพในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้มีความชำนานสามารถนำไปฝึกสอนได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีต่อสังคมต่อเด็กเยาวชนด้วย
           ในความเป็นครูต้องรู้จักให้อภัยทำตัวให้มีความน่าเคารพน่านับถือสามารถเป็นผู้นำเป็นผู้ให้คำแนะนำเป็นผู้สอนและให้ความรู้ที่ดีได้ แบ่งเวลาการทำงานที่ถูกต้อง ตรงต่อเวลาให้ความสำคัญกับเวลาไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตามเพราะมันจะเป็นการผลักดันให้เราดูเหมือนมีความรับผิดชอบต่อเวลาและเรื่องราวต่างๆ ค้นหาข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์แก่สถาบัน เช่นคิดค้นหากิจกรรมต่างๆที่ควรจะจัดและจะต้องมีประโยชน์สามารถให้ความรู้แก่ผู้ศึกษาผู้ที่ยังไม่ได้รู้ เช่น เพื่อน ครูอาจารย์ การเป็นครูคือผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ความสามารถ คือการเป็นผู้นำ ฉะนั้นครูต้องมีความรู้และความสามารถที่จะสร้างคนให้มีประสิทธิภาพที่ดีมีความรู้ความสามารถ ครูจึงเป็นบุคคลหนึ่งที่สำคัญที่จะสร้างเด็กและเยาวชนให้ได้ดีมีความรู้ในวันข้างหน้าและในอนาคต ผู้เขียนจึงได้นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ  ๕  ประการคือ
๑.    ความหมายและความสำคัญของจรรณยาบรรณ
๒.    ความสำคัญของวิชาชีพครู
            ๓.  จรรยาบรรณและเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
           ๔.  จรรณยาบรรณครูที่พึงประพฤติปฏิบัติต่อผู้เรียน ๙ ประการ
           ๕.  แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู

๑.  ความหมายและความสำคัญของจรรณยาบรรณ[๑]
        ๑.๑   ความหมายของจรรณยาบรรณ
               จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึง ประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้
        ๑.๒   ความสำคัญของจรรณยาบรรณ
               จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพที่เป็น วิชาชีพนั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า จรรยาบรรณ” ส่วนลักษณะ วิชาชีพ ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับอุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี จรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม ดังนี้[๒]
           ผู้ที่อยู่ในวงวิชาชีพจะต้องยึดถือจรรยาบรรณ ในการดำรงวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับ คือ
            ๑. ศรัทธาต่อวิชาชีพ ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครู ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้อยู่ในวิชาชีพจะต้องมั่นใจ ในกาประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ
           ๒. ธำรงและปกป้องวิชาชีพ สมาชิกของสังคมวิชาชีพต้องมีจิตสำนึกในการธำรง ปกป้อง และรักษาเกียรติภูมิของวิชา ไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน หรือเหยียบย่ำ ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ หรือ มัวหมองการธำรงปกป้องต้องกระทำทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือต้องมีการแก้ไขข่าวหรือประท้วงหากมีข่าวคราวอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิชาชีพ
           ๓. พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ หน้าที่ของสมาชิกในวงการวิชาชีพคือ การที่ต้องรับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย สร้างความรู้และเผยแพร่ความรู้ เพื่อทำให้วิทยาการในศาสตร์สาขาวิชาชีพครูก้าวหน้าทันสังคมทันเหตุการณ์ ก่อประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม ทำให้คนเก่ง และฉลาดขึ้น โดยวิธีการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักเรียน ใฝ่รู้ ช่างคิด ทีวิจารณญาณ มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ มากขึ้น
           ๔. สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่งสมาชิกในวงวิชาชีพต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสร้างองค์กรวิชาชีพให้คงมั่นธำรงอยู่ได้ด้วยการเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิก และเป็นเวทีให้คนในวงการได้แสดง ฝีมือและความสามารถทางการสร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนตลอดจนการเผยแพร่ผลงานทางด้านการสร้างแบบเรียนใหม่ ๆ การเสนอแนวความคิดห่าในเรื่องของการพัฒนาคน การเรียนการสอน และการประเมินผล
           ๕. ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ สมาชิกในสังคมวิชาชีพต้องร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องของความคิด หรือการจัดประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากสมาชิกแล้ว ทำให้องค์กรวิชาชีพขาดความสำคัญลงและไม่สามารถดำเนินภารกิจขององค์กรวิชาชีพต่อไปได้บทบาทของการธำรงมาตรฐานและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการก็ย่อมจะลดลงด้วย ถ้าไม่มีปริมาณสมาชิกที่สนับสนุนเพียงพอ

.  ความสำคัญของวิชาชีพครู
           การสอนเป็นภารกิจหลักของครู ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียนและเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า คุณภาพของเด็กสะท้อน คุณภาพของครู”  ดังนั้น ครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตาและกัลยาณมิตร  ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครูและพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำทำการสอนอย่างมีคุณภาพมีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี  เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป
           ราชบัณฑิตยสถาน[๓]  ได้กล่าวว่า วิชาชีพ คือ อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำนาญ และไปดูข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
           "วิชาชีพชั้นสูง" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สูง มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานสูงขึ้น มีการติดตาม ศึกษา ค้นหาความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งความรู้ทางคณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ คุณธรรม จริยธรรม เศรษฐศาสตร์ ดนตรี สุขภาพ อนามัย ฯลฯ ทั้งความรู้ที่เกิดขึ้นในและต่างประเทศ
            ครูกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง คือ การทำให้ครูมีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง โดยมีพันธะหน้าที่ในการสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดีและมีความรู้ ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่หนักหนากว่าคนธรรมดาทั่วไป ดังนั้นจึงต้องทำให้ครูยืนอยู่ในสังคมได้อย่างสง่างาม และไม่เดือดร้อนเรื่องฐานะความเป็นอยู่ เพื่อให้พวกเขาทุ่มเทพลังทั้งหมดในการสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพและคุณธรรม
           ทัศนีย์ บัวคำ[๔]  ได้กล่าวว่า ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง (profession) ที่ได้รับการยอมรับมาช้านานกว่าร้อยปีอย่างเป็นทางการโดย เฉพาะประเทศไทย  ความเป็นวิชาชีพของอาชีพครู มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ ๖ ประการคือ
           ๑. วิชาชีพที่ให้การบริหารแก่สังคมในลักษณะที่มีความจำเป็นและเจาะจง (social service)
           ๒. สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริหาร (intellectual method)                          ๓. สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้  กว้างขวางลึกซึ้ง  โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร (long period training )
           ๔. สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพนั้น ๆ ตามมาตรฐานของวิชาชีพ (Professional autonomy)
           ๕. วิชาชีพครูจะต้องมีจรรยาบรรณ (professional ethics)
           ๖. วิชาชีพครูจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลงความเป็นมาตรฐานวิชาชีพ (professional institute)
             พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒[๕]  มีการกำหนดเกี่ยวกับวิชาชีพไว้ว่ากระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยรัฐจัดสรรงบประมาณและกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ฯลฯ ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นองค์กรอิสระมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ  ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชน ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครู เป็นวิชาชีพที่ทุกประเทศต้องมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย วิชาชีพครูจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้แก่เด็กนักเรียนให้มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศ ผู้ที่เข้าเรียนหลักสูตรการผลิตครู จะได้รับใบประกอบวิชาชีพครู เพื่อใช้ทำการสอน ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้เรียนมาในหลักสูตรการผลิตครู ก็จะไม่ได้รับใบประกอบวิชาชีพครู ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้าใครในประเทศไทยที่ทำการสอนโดยไม่มีใบวิชาชีพครู ถือว่าเป็น"ครู"ที่ผิดกฎหมาย

๓.  จรรยาบรรณและเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
        ๓.๑  ความหมายของจรรยาบรรณวิชาชีพครู
               วิชาชีพชั้นสูงใดๆก็ตาม  ไม่ใช่เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลซึ่งประกอบด้วยอาชีพเดียวกันหรือปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น แต่ยังต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องความสามรถและคุณภาพของสมาชิกในวิชาชีพนั้นๆด้วย จึงมักมีการกำหนดข้อห้ามมิให้สมาชิกระทำหรือประพฤติ  อันจะก่อให้เกิดความเสียหาย  เสื่อมเสียต่อวิชาชีพโดยส่วนรวมสิ่งที่ช่วยยับยั้งเตือนสติการกระทำนี้ คือ จรรยาบรรณของวิชาชีพ อาชีพครูซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงอาชีพหนึ่ง จึงต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพครูด้วย ในฐานะครูด้วย ในฐานะครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ต้องมีกิริยามารยาทที่งดงาม  ครูต้องมีจรรยาบรรณและวินัยในตนเอง เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการปฏิบัติตน ดังนั้นจึงมีผู้ให้ความหมายไว้หลายอย่างดังนี้.
               พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน[๖] ให้ความหมายของคำว่าจรรยาบรรณไว้ว่าเป็นคำนาม หมายถึง  ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ  ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
               สำนักงานก.พ.[๗]  กล่าวว่า จรรยาบรรณหมายถึงประมวลความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียงเกียรติคุณ  เกียรติฐานะของข้าราชการพลเรือน  อันจะยังผลให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาและยกย่องของบุคคลทั่วไป
           ไกรนุช  ศิริพูล[๘] กล่าวว่า  จรรยาบรรณของครู คือ  หนังสือหรือเอกสารที่ว่าด้วยกิริยา  ที่ครูควรประพฤติปฏิบัติ.
           ยนต์  ชุ่มจิต[๙] กล่าวว่า  จรรยาบรรณของครู หมายถึง  ประมวลความประพฤติ  หรือกิริยาอาการที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูควรประพฤติปฏิบัติ  เพื่อรักษา  ส่งเสริมเกียรติคุณ  และฐานะของความเป็นครู
            จากความหมายพอสรุปได้ว่า จรรยาบรรณของครู หมายถึง ประมวลความประพฤติ ที่ว่าด้วยกิริยา ที่ครูควรปฏิบัติ เพื่อรักษา ส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก  อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ และฐานะของความเป็นครู
            ๓.๒.  จรรยาบรรณวิชาชีพครู
                   ผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพจะ ต้องมีระเบียบวิธีการปฏิบัติเป็น ลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งระเบียบหรือแนวปฏิบัตินั้นจะ ต้องสอดคล้องกับศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีของสังคม นั่นก็คือ ทุกคนทุกอาชีพจะ ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของตน พิบูลย์ กระแสสุข[๑๐] กล่าวในเรื่องจรรยาบรรณของวิชาชีพครูว่า มีความจําเป็นอย่างมาก เพราะงานจัดการศึกษาจะสําเร็จลงได้เพราะครูผู้ปฏิบัติแต่ด้วยเหตุที่ครูเป็นมนุษย์มีชีวิตจิตใจ ความรู้สึก ทําให้ครูมีความพึงพอใจมีความรักในอาชีพรู้บทบาทหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีอุดมการณ์ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพครูซึ่งเป็นที่คาดหวังของสังคมว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรมปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เป็นแบบอย่างแก่ศิษย์และ ผู้คนทั่วไป การพัฒนาส่งเสริมพฤติกรรมของครูให้เป็นไปตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูจึงเป็นเรื่องสําคัญ เพราะวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง มีสภาวิชาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งจรรยาบรรณเป็นเรื่องของความรู้สึกนึกคิดที่รับผิดชอบต่อสังคมและ ประเทศชาติซึ่งจะต้องอาศัยคุณธรรมทางศาสนาเข้ามาประกอบด้วย บางอาชีพมีจรรยาบรรณเข้ามาควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยกําหนดเป็นลายลักษณ์อักษร หากผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ ฝ่าฝืนหรือละเมิดก็จะถูกคาดโทษหรือลงโทษแล้วแต่กรณีหากร้ายแรงก็อาจจะมีการถอดถอนใบอนุญาตประกอบอาชีพนั้นด้วย พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์[๑๑] กล่าวว่า จรรยาบรรณวิชาชีพครูคือกฎแห่งความประพฤติสําหรับสมาชิกวิชาชีพครูซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู็กําหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ จะต้องมีลักษณะ ๔ ประการคือ
         ๑. เป็นคํามั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student)
           ๒. เป็นคํามั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society)
           ๓. เป็นคํามั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession)
              ๔. เป็นคํามั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน (Commitmentto the employment practice)
        สํานักเลขาธิการคุรุสภา[๑๒] ไดกําหนดจรรยาบรรณของครูไว ๙ ประการ ดังนี้
           ๑. ครู ตองรักเมตตา โดยใหความเอาใจใสและ ชวยเหลือ สงเสริม ใหกําลังใจ ในการศึกษาเลาเรียนแกศิษย์โดยเสมอหนา
           ๒. ครูตองอบรม สั่งสอน ฝกฝน สรางเสริมความรูทักษะ และนิสัยที่ถูกตองดีงามใหเกิดแกศิษย์อยางเต็มที่ความสามารถดวยความบริสุทธิ์ใจ
           ๓. ครูตองประพฤติปฏิบัติตนเปนแบบอยางที่ดีแกศิษย์ทั้งกายวาจา และจิตใจ
           ๔. ครูต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์และสังคมของศิษย์
           ๕. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและ ไม่ให้ศิษย์กระทําการใดๆ อันเป็นประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
          ๖. ครูย่อมพัฒนาทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทนต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
      ๗. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
           ๘. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
    ๙. ครูพึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และ พัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
            ดังที่ บวร ทองยัง[๑๓]  กล่าวว่า ในการประกอบวิชาชีพนั้นมีความจําเป็นที่จะต้องมีมาตรการในการควบคุมจรรยาบรรณของผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ โดยมีข้อจํากัดที่ชัดเจนเพื่อสามารถนําไปสู่การปฏิบัติและ ต้องมีองค์กรทีทําหนาที่ในการควบคุมดูแล ซึ่งกําหนดให้มีการออกใบอนุญาตในการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นตัวควบคุมจรรยาบรรณของผูประกอบอาชีพ ถาไมมีมาตรการหรือองค์กร ในการพิจารณาผู้กระทําผิดจรรยาบรรณครูก็สามารถกอใหเกิดความเสื่อมในวิชาชีพได้ดังนั้นการที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพนั้น จําเปน ต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมในตัวเองอยางสูง เพื่อนําไปสูการพัฒนาและ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
            สรุปวา ความสําคัญของจรรยาบรรณครูเปนสิ่งที่ชี้ใหเห็นถึงความเปนครูของครูอยางแทจริง อาชีพครูมีคุณคาและ สงผลตอทุกวิชาชีพเชนนี้ตองมีจรรยาบรรณระดับสูงเทานั้น จึงสามารถรักษาอาชีพครูใหคงอยูต่อไป

        ๓.๒.  เกณฑมาตรฐานวิชาชีพครู
                องค์ประกอบมาตรฐานของวิชาชีพครูตามแนวทางคุรุสภามี[๑๔].ดังนี้
                มาตรฐานวิชาชีพครูก็คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ตองการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูซึ่ง ครูใชเปนเกณฑ์ในการปฏิบัติงานมาตรฐานวิชาชีพ ครูจึงมีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจัดการเรียนการสอน และมีความแตกตางจากลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจัดการเรียนการสอน และมีความแตกต่าง จากลักษณะของการประกอบวิชาชีพอื่น ทั้งนี้มาตรฐานวิชาชีพครูจะเป็นหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของครูเพื่อนําไปสู่การพัฒนาครูและการพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาเด็ก และพัฒนาสังคมประเทศชาติใหมีความเจริญกาวหนาและ มีความสุข มาตรฐานวิชาชีพจึงทําใหผูเรียน ผูปกครองและสังคมเชื่อมั่นตอการประกอบวิชาชีพครูคุรุสภาไดกําหนดมาตรฐานวิชาชีพครูประกอบดวยองคประกอบสําคัญ ๓ ประการ ดวยกันคือ มาตรฐานดานความรูและประสบการณวิชาชีพ มาตรฐานดานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานดานการปฏิบัติตน ดังนี้
               มาตรฐานดานที่ ๑ ของมาตรฐานวิชาชีพครูไดแก มาตรฐานดานความรูและประสบการณวิชาชีพ เปนคุณลักษณะดานความรูความสามารถ และทักษะเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะตองไดรับการศึกษาและฝึกประสบการณวิชาชีพครูจากสถาบันผลิตครูมาก่อน และถือว่าเปนคุณลักษณะเบื้องตนที่จะไดรับสิทธิในการประกอบวิชาชีพครูเกณฑมาตรฐานดาน ความรูของผูที่จะประกอบวิชาชีพครูครูจะตองมีความรูไมต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางการศึกษา โดยคุณวุฒิปริญญาทางการศึกษานี้จะตองเปนปริญญาที่องคกรวิชาชีพครูใหการรับรอง การไดรับคุณวุฒิเปนหลักประกันวาเปนผูมีความรูและความสามารถที่ไดรับจากการศึกษาในสถาบันผลิตครูนี้อยางนอยจะตองประกอบดวยความรูสําคัญ ๓ ดานคือ
               ๑. ความรูพื้นฐานที่จะทําใหผูประกอบวิชาชีพครูเปนคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมและเขาใจวัฒนธรรมประเพณีไทย ตลอดจนรูเทาทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
               ๒. ความรูเกี่ยวกับวิชาชีพครูมีความรูความสามารถและทักษะที่ใชในการประกอบวิชาชีพครูหรือที่เรียกวาวิชาครูหรือวิชาการศึกษา ซึ่งไดแก วิชาการจัดกระบวนการเรียนรูการจัดการเรียนการสอน การจัดหลักสูตรการผลิตและการใชสื่อทางการศึกษาเปนตน
               ๓. ความรูเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา เปนความรูเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของวิชาที่ตองการใหผูเรียนไดรูเช่น ความรูดานคณิตศาสตรวิทยาศาสตรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เปนตน

               มาตรฐานดานที่ ๒ ของมาตรฐานวิชาชีพครูไดแก มาตรฐานดานการปฏิบัติงาน ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติงานเปนขอกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะการปฏิบัติหนาที่ของผูประกอบวิชาชีพครูซึ่งเปนพฤติกรรมที่เกิดจากคุณภาพภายในตัวครูมีลักษณะเฉพาะสําหรับผูที่ทําหนาที่ครูเทนั้น เปนทักษะทางวิชาชีพครูที่แสดงถึงคุณภาพ และมาตรฐานการปฏิบัติงานของผูประกอบวิชาชีพครูการกําหนดเกณฑมาตรฐานวิชาชีพครูคุรุสภาไดจัดทําขึ้นบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเด็กทุกคนสามารเรียนรูไดครูตองคํานึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผูเรียนเปนสําคัญ ในการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถเลือกวิธีสอนใหเหมาะสมกับพัฒนาการของผูเรียนและสภาพแวดลอม เมื่อสอนไปแลวครูตองตรวจสอบแกไขปรับปรุง และชื่นชมตอความสําเร็จของผูเรียน หลักเกณฑสําคัญของเกณฑมาตรฐานวิชาชีพครูการจัดทําเกณฑมาตรฐานวิชาชีพครูมีจุดมุงหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนาสังคมในอนาคต เกณฑมาตรฐานวิชาชีพครูจึงเปนการกําหนดลักษณะการแสดงพฤติกรรมของครูที่จะนําไปสูผลสําเร็จของนักเรียน โดยหลักการสําคัญ คือ
           ๑. อาชีพครูเปนอาชีพชั้นสูง ในวิถีชีวิตครูตองพัฒนาตน พัฒนางานและวิชาชีพครูอยูเสมอ มีการประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนาผลการปฏิบัติงานใหดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้นเสมอ ตองปฏิบัติเปนแบบอยางที่ดีปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูอยางเครงครัดใหเปนที่ยอมรับของนักเรียน เพื่อนรวมงาน และบุคคลอื่น รวมทั้งตองเนนการปฏิบัติงาน ปฏิบัติตนที่มุงประโยชนของสังคมสวนรวม เป็นสําคัญ
           ๒. การเรียนรูที่พึงปรารถนาของผูเรียน โดยผูเรียนสรางความรูคนหา คนพบคําตอบบดวยตนเอง ผานกระบวนการเรียนการสอนที่เนนการปฏิบัติจริงอยางงายๆ ไมซับซอนไปสูขั้นตอนที่ยากและซับซอนมากขึ้น ครูมีบทบาทเปนผูวางแผนกําหนดแนวทางการปฏิบัติกิจกรรมใหผูเรียนทําเอง ประเมินผลการปฏิบัติของผูเรียน ใหขอมูลยอนกลับเทาที่จําเปน เสริมสรางกําลังใจจัดสถานการณการเรียนใหมๆ ที่มีความทาทายตอการเรียนรูของผูเรียนเพิ่มขึ้น
           ๓. เสนทางพัฒนาวิชาชีพครูเปนลักษณะคุณภาพหรือความสามารถของครูที่จัดเรียงลําดับต่อเนื่องกัน แสดงใหเห็นการพัฒนาการทางวิชาชีพครูอยางเปนระบบ เริ่มตั้งแตครูเชื่อวาผูเรียนทุกคนเรียนรูไดกําหนดจุดพัฒนาผูเรียนได เลือกวิธีพัฒนาไดอยางเหมาะสม ลงมือปฏิบัติใหเกิดผลจริง ตรวจสอบ ปรับปรุงการปฏิบัติอยูเสมอ และภาคภูมิใจในผลการพัฒนาที่บรรลุเปาหมาย
           มาตรฐานดานที่ ๓ ของมาตรฐานวิชาชีพครูไดแก มาตรฐานดานการปฏิบัติตน โดยยึดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพครูสํานักงานเลขาธิการคุรุสภา ไดประกาศใชเกณฑมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อเปนแนวทางปฏิบัติตน จํานวน ๑๒ มาตรฐาน ดังนี้
               มาตรฐานที่ ๑ ปฏิบัติกิจกรรมทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
               มาตรฐานที่ ๒ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมตางๆโดยคํานึงถึงผลที่จะเกิดกับผูเรียน
               มาตรฐานที่ ๓ มุงมั่นพัฒนาผูเรียนใหเต็มศักยภาพ
               มาตรฐานที่ ๔ พัฒนาแผนการสอนใหสามารถปฏิบัติไดเกิดผลจริง
               มาตรฐานที่ ๕ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนใหมีประสิทธิภาพอยูเสมอ
               มาตรฐานที่ ๖ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเนนผลถาวรที่เกิดกับผูเรียน
               มาตรฐานที่ ๗ รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผูเรียนไดอยางมีระบบ
               มาตรฐานที่ ๘ ปฏิบัติตนเปนแบบอยางที่ดีแกผูเรียน
               มาตรฐานที่ ๙ รวมมือกับผูอื่นในสถานศึกษาอยางสรางสรรค
               มาตรฐานที่ ๑๐ รวมมือกับผูอื่นอยางสรางสรรคในชุมชน
               มาตรฐานที่ ๑๑ แสวงหาและ ใชขอมูลขาวสารในการพัฒนา
               มาตรฐานที่ ๑๒ สรางโอกาสใหผูเรียนไดเรียนรูในทุกสถานการณ

๔.  จรรณยาบรรณครูที่พึงประพฤติปฏิบัติต่อผู้เรียน ๙ ประการ[๑๕]
           ๑.  ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ บทบาทของครูต้องพยายามที่จะทำให้ลูกศิษย์เรียนด้วยความสุข เรียนด้วยความเข้าใจ และเกิดความมานะพยายามที่จะรู้ในศาสตร์นั้น ครูจึงต้องตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะศึกษาวิชาการทั้งทางศาสตร์ที่จะสอน ศาสตร์ที่จะถ่ายทอดหรือวิธีการสอน ครูต้องพยายามที่จะหาวิธีการใหม่ ๆ มาลองทดลองสอน
           ๒.  รักและเข้าใจศิษย์ ครูต้องพยายามศึกษาธรรมชาติของวัยรุ่น ว่ามีปัญหามีความไวต่อความรู้สึก (sensitve) และอารมณ์ไม่มั่นคง ครูจึงควรให้อภัย เข้าใจ และหาวิธีการให้ศิษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ครูต้องพยายามทำให้ลูกศิษย์รักและไว้ใจเพื่อที่จะได้กล้าปรึกษาในสิ่งต่างๆแล้วครูก็จะสามารถช่วยให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียน และการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง
           ๓.  ส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจุบันการส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองหรือการเรียนรู้จากการช่วยเหลือกันในกลุ่มอาจจะทำให้ผู้เรียนมีวิธีการหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเองมากขึ้นมากกว่าจะคอยให้ครูบอกให้แต่ฝ่ายเดียว ครูจึงจำเป็นต้องชี้ช่องทางให้ผู้เรียนหาวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
           ๔.  ยุติธรรม อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ไม่เห็นว่าคนที่มีปัญหาเป็นคนน่ารังเกียจ หรือพอใจแต่เฉพาะศิษย์ที่เรียนเก่ง ไม่สร้างปัญหาเท่านั้น ครูต้องมีความเป็นธรรมในการให้คะแนน และพร้อมที่จะอธิบายวิธีการให้คะแนน และการตัดเกรดได้ ครูต้องรอบคอบในการรอกคะแนน เพราะถ้าผิดพลาดแล้วบางครั้งก็จะทำให้ผู้เรียนที่ควรได้คะแนนดี ๆ กลับได้คะแนนเกือบจะสอบตกไป
           ๕.  ไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้เรียน ลักษณะของครูจะต้องเป็นผู้ไม่แสวงหาอามิสสินจ้าง เงินไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสุขเสมอไป ครูจึงจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการกระทำใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ครูกำลังหาประโยชน์จากศิษย์อย่างไม่เป็นธรรม
           ๖.  ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูมีอิทธิพลต่อศิษย์ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพ และความประพฤติ ครูจึงจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซึมซับสิ่งที่ทำจากตัวครูไป เมื่อศิษย์เกิดศรัทธาในความสามารถของครู ศิษย์อาจจะเลียนแบบความประพฤติของครูไปอย่างไม่ได้เจตนา เช่น การตรงต่อเวลา การพูดจาชัดเจน การแสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น
           ๗.  ให้เกียรติผู้เรียน การยกย่องให้เกียรติผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ และเกรงใจผู้สอน ครูไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด เช่น พูดจาข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพ เปลี่ยนชื่อผู้เรียน เยาะหยันหรือดูถูกผู้เรียน การเคารพผู้เรียนในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ดี เมื่อผู้เรียนได้รับการปฏิบัติอย่างดี ย่อมก่อให้เกิดพลังในการศึกษาต่อไป
           ๘.  อบรมบ่มนิสัย ม.ล. ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีบทบาทหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก โดยท่านเชื่อว่า การอบรมบ่มนิสัยใคร ๆนั้นเพียงแค่วันละนาทีก็ดีถมดังนั้นครูควรแบ่งเวลาในการอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน เช่น ก่อนการสอนแต่ละชั่วโมงอาจชี้แนะหรือให้ความคิดที่ดีแก่ผู้เรียนได้ ครูควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสอนคนให้เป็นคนดี
           ๙.  ช่วยเหลือศิษย์ผู้เรียนมาอยู่ในสถานศึกษาพร้อมด้วยประสบการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้องสังเกตความผิดปกติหรือข้อบกพร่องของศิษย์ และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ศิษย์ต้องก้าวถลำลึกลงไปในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

.  การพัฒนาวิชาชีพของครู
           การสงเสริมและการพัฒนาวิชาชีพครูนั้นตองมุงที่ตัวครูเปนสําคัญ ครูที่ดียอมชวยใหสังคมดีขึ้นทุกๆ ดาน ครูจึงตองมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนใหสอดคลองกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกไดอยางมีคุณภาพ[๑๖] ดังนั้นการพัฒนาวิชาชีพของครูใหเจริญกาวหนานําสมัยและทันตอเหตุการณจึงมีความจําเป็นอยางยิ่ง นคร พันธุณรงค[๑๗] กลาวถึงแนวความคิดในการพัฒนาวิชาชีพครูดังนี้
               ๑. คุณภาพของผลผลิตและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เปนเครื่องชี้ความสำเร็จของวิชาชีพ
               ๒. การพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยการพัฒนางานในภาวะปกติอย่างตอเนื่องและสม่ำเสมอจะสงผลต่อคุณภาพของผลผลิตไดตามเปาหมาย
               ๓. การพัฒนางานที่เปนการพัฒนาวิชาชีพอยางตอเนื่อง ผูปฏิบัติงานจําเปนตองเรียนรูหลักการ วิธีการและองคความรูใหมๆในงานอาชีพ และนํามาใชในงานเพื่อคนหาความรูสรางความรูใหมในวิชาชีพของตนเองอยางตอเนื่อง
                ๔. ครูที่สามารถพัฒนาคุณภาพผูเรียนใหสูงขึ้นอยางตอเนื่องและ เปนไปตามมาตรฐานควรไดรับผลตอบแทนสอดคลองกับระดับมาตรฐานคุณภาพงานที่ปฏิบัติ
               ๕. การพัฒนาวิชาชีพครูเปนการปรับปรุงประสิทธิภาพการทํางานของครูทุกคน เพื่อสรางผลผลิตใหมีคุณภาพสูงขึ้นอยูเสมอ
           แผนการศึกษาแหงชาติพ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๙ ไดกําหนดแนวทางการพัฒนาครูไวดังนี้[๑๘]
               ๑. การปรับปรุงกระบวนการผลิต พัฒนาและเสริมสรางแรงจูงใจใหแกครูคณาจารยและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ เพื่อใหวิชาชีพครูเปนวิชาชีพชั้นสูง
               ๒. การทบทวนกระบวนการที่เกี่ยวกับครูทั้งหมดในเรื่ององคกรวิชาชีพครูผูบริหารการศึกษาและองคกรกลางบริหารงานบุคคลของขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระบบเงินเดือน คาตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชนเกื้อกูล และระบบการสงเสริมขวัญและกําลังใจ
               ๓. การสงเสริมการผลิตและการพัฒนาบุคลากรใหสอดคลองกับผูเรียนแตละกลุมโดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีความตองการพิเศษ
               ๔. การพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
           การพัฒนาครูมีความจําเปนมากในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเปนยุคโลกาภิวัฒนดังที่เดอลอรสและคนอื่นๆ (Delors; others)[๑๙] ไดใหแนวคิดในการพัฒนาครูไวดังนี้
               ๑. การสรรหาผูเขาเรียนวิชาชีพครู (Recruitment) ควรมีการคัดเลือกและสรรหาผูเขาเรียนครูที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมเพื่อเขามาศึกษาเลาเรียนสาขาครุศาสตรสวนการบรรจุเขาสูตําแหนงก็ควรมีมาตรการพิเศษในการคัดเลือก
               ๒. การจัดการศึกษาสําหรับผูประกอบวิชาชีพครูควรจัดถึงระดับปริญญาตรีเปนขั้นตน ซึ่งในอนาคตครูตองมีบทบาทเปนผูอํานวยความสะดวกเพื่อการเรียนรูการพัฒนาบุคลิกภาพของเยาวชนและการสงเสริมการเรียนรูสําหรับผูเรียน การจัดการศึกษาสําหรับครูจึงตองเปนกระบวนการเดียวกันทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
               ๓. การอบรมครูประจําการ (In-service training) ตองเปดโอกาสใหครูที่ประจําการแลวไดรับการอบรมความรูใหมๆ อยูเสมอ โดยเฉพาะการอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาจใชระบบการศึกษาทางไกลเพื่อประหยัดคาใชจายเวลาและความสะดวก
               ๔. การพัฒนาผูสอนในสถาบันฝกหัดครู (Teacher education) ควรปรับปรุงทักษะของคณาจารยในสถาบันฝกหัดครูทั้งหลาย ตลอดจนการสรรหาผูทรงคุณวุฒิจากชุมชนมารวมผลิตครูยอมพัฒนาระบบผลิตครูใหสอดคลองกับความตองการของชุมชน และ ชวยใหการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
               ๕. การนิเทศ (Supervisors) ชวยใหการควบคุม การตรวจสอบ และการปรับปรุงการปฏิบัติงานของครูเปนระบบ ทําใหครูไดรับทราบเกี่ยวกับการพัฒนาดานตางๆ ที่เกี่ยวของกับอาชีพครูเชน ความรูใหมๆวิธีการสอน แหลงขอมูล การตรวจสอบ ตลอดจนการวัดผลการเรียนรูที่นักเรียนไดรับจากการศึกษาดวยการนิเทศตองทําอยางตอเนื่อง และสม่ำเสมอ
               ๖. การจัดการ (Management) ตองปฏิรูปการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตางๆโดยสงเสริมใหแตละแหงมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการดําเนินงาน การทํางานตลอดจนการกําหนดปริมาณของครูตองสงเสริมใหครูไดทํางานอยางเต็มศักยภาพ
               ๗. การเปดโอกาสใหชุมชนมีสวนรวมในการปฏิบัติงานของครู (Participation bypeople from quest the teaching profession) เปนการชวยใหการปฏิบัติภารกิจของครูมีคุณภาพและ เปนผูรวมตรวจสอบการทํางานของครู
               ๘. ดานสภาพการปฏิบัติงาน (Conditions of work) ในสภาพการทํางานจะตองให
ความสนใจในการโนมนาวใจครูผูสอน
           ธีรศักดิ์  อัครบวร[๒๐] (๒๕๔๔ : ๓๗-๓๙) ไดกลาวถึงแนวทางในการพัฒนาคุณภาพครูวิชาชีพใน
ศตวรรษที่ ๒๑ ในประเทศตางๆไวดังนี้
               ๑. การสรรหาผูเขาเรียนวิชาครู (Recruitment) ควรมีการคัดเลือก สรรหาผูเขาเรียนที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมจํานวนมากพอเขามาศึกษาเลาเรียนสาขาครุศาสตรสวนการบรรจุเขาสูตําแหนงก็ควรมีมาตรการพิเศษในการคัดเลือก
               ๒. การศึกษาเบื้องตนในสถาบันฝกหัดครู (Initial education) การจัดการศึกษาสําหรับผูประกอบวิชาชีพครูควรจัดถึงระดับปริญญาตรีเปนขั้นตน ในอนาคตครูตองมีบทบาทเปนผูอํานวยความสะดวก เพื่อการเรียนรูพัฒนาบุคลิกภาพเยาวชนและ สงเสริมการเรียนรูสําหรับผูเรียนการจัดการศึกษาเบื้องตนสําหรับครูจึงตองทั่วถึง เปนกระบวนการเดียวกันทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
               ๓. การอบรมครูประจําการ (In service training) ตองเปดโอกาสใหครูที่ประจําการแลวไดรับการอบรมความรูใหมๆอยูเสมอโดยเฉพาะดานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาจใชระบบการศึกษาทางไกลเพื่อประหยัดคาใชจายเวลาและเพื่อความสะดวก
               ๔. พัฒนาผูสอนในสถาบันฝกหัดครู (Teacher educators) การปรับปรุงทักษะของคณาจารยในสถาบันฝกหัดครูทั้งหลาย ตลอดจนการสรรหาผูทรงคุณวุฒิจากชุมชนมาชวยรวมผลิตครูยอมพัฒนาระบบผลิตครูใหสอดคลองกับความตองการของชุมชน และ ชวยใหการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นดวย
               ๕. การนิเทศ (Supervisors) การควบคุม การตรวจสอบและการปรับปรุง การปฏิบัติงานของครูอยางเปนระบบ ชวยใหครูไดรับทราบเกี่ยวกับพัฒนาการดานตางๆ ที่เกี่ยวของกับวิชาชีพครูเชน เรื่องความรูใหมๆ วิธีการสอน แหลงขอมูลการตรวจสอบ รวมถึงการวัดผลการเรียนรูที่นักเรียนไดรับจากการจัดการศึกษาและการนิเทศตองทําอยางตอเนื่องสม่ำเสมอ
               ๖. การจัดการ (Management) การจัดการสถานศึกษาในสถานตางๆ โดยสงเสริมใหสถานศึกษาแตละแหงมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการดําเนินงาน การปฏิบัติงานตลอดจนการกําหนดปริมาณงานของครูตองสงเสริมใหครูไดทํางานเต็มศักยภาพดวย
               ๗. สภาพการปฏิบัติงาน (Conditions of work) ในสภาพการทํางานจะตองใหความสนใจในการโนมนาวใจครูใหปฏิบัติงานตอไปโดยไมละทิ้งอาชีพ ทั้งอัตราเงินเดือนและสิทธิประโยชนตลอดจนสภาพอื่นๆในการทํางานจะตองดีพอเมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพอื่นๆ
               ๘. อุปกรณการสอน (Teaching materials) การฝกหัดครูและการสอนในโรงเรียนนั้นจําเปนตองใชอุปกรณการสอน โดยเฉพาะอยางยิ่งแบบเรียนทั้งจะตองปรับปรุงหลักสูตรอยางเสมอโดยใหครูมีสวนรวมทั้งในขั้นวางแผนและขั้นดําเนินการ ในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนําเสนอความรูใหมๆ การสอนทักษะและวิธีการประเมินผลความกาวหนาของนักเรียน ซึ่งจะชวยใหนักเรียนไดเรียนรูไดอยางมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
๖.  แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู
           การศึกษาตามนัยแห่ง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่กำหนดว่าระบบ และ กระบวนการผลิตพัฒนาครูจะต้องปรับเปลี่ยนให้ได้ครูที่มีศักยภาพ คุณภาพสมกับเป็น วิชาชีพชั้นสูง จึงได้มีการผลิตครูระบบใหม่เกิดขึ้น ออกแบบหลักสูตรเป็น ๕ ปี ซึ่งหลายคน ก็เรียกว่า "ครูห้าปี" เมื่อจบหลักสูตรจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สังคมและใน วงวิชาการต่างคาดหวังว่า "ครูห้าปี" จะเป็นสายเลือดใหม่และผู้นำทางการศึกษารุ่นใหม่ ที่จะมากู้วิกฤตศรัทธาในวิชาชีพครู มาเป็นอัศวินม้าขาวในการปฏิรูปการศึกษา จึงมีคำถาม มากมายว่า "ครูพันธุ์ใหม่" หรือ "ครูยุคใหม่" เป็นอย่างไร แตกต่างจากครูยุคก่อนๆ อย่างไรจากการที่ได้รวบรวมแนวคิด การทำวิจัย การประกาศหลักการของประเทศต่าง ๆ
           ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง[๒๑]  กล่าวว่า การประชุมสัมมนา รวมทั้งการสำรวจแล้วจัดทำคุณลักษณะครูยุคใหม่ที่คาดหวัง ครูเลือดใหม่- ครูพันธุ์ใหม่ น่าจะมีภาพลักษณ์ คุณลักษณ์ ที่สะท้อนมาจากหลักการ (Principle) ๑๐ ประการ ซึ่งน่าจะใช้เป็นมาตรฐานการผลิตและพัฒนาครูใหม่ - ครูเก่าที่ อยู่ในระหว่างการพัฒนาได้ ประกอบด้วย ๑๐ หลักการ คือ
           หลักการที่ ๑ ครูพันธุ์ใหม่มีความเข้าใจในเรื่องของแนวคิดหลักแห่งวิชาชีพ ครู มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเครื่องมือที่จะใช้สำหรับการแสวงหาความรู้ การสอบ ถาม มีความเข้าใจในโครงสร้างของสาขาวิชาที่ตนเป็นผู้สอน และสามารถสร้างสรรค์ ประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่จะช่วยส่งเสริมให้เนื้อหาวิชาเหล่านั้นเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ เรียน
           หลักการที่ ๒ ครูพันธุ์ใหม่มีความเข้าใจในเรื่องของการเรียนรู้และพัฒนาของเด็ก รู้จักสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาสังคม และพัฒนาการส่วนบุคคล   
           หลักการที่ ๓ ครูพันธุ์ใหม่มีความเข้าใจถึงความแตกต่างในการเรียนรู้ของเด็ก และสามารถสร้างสรรค์โอกาสในการจัดการเรียนการสอนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เรียน ที่หลากหลายได้
           หลักการที่ ๔ : ครูพันธุ์ใหม่มีความเข้าใจและรู้จักใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย ในการสอน เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ไขปัญหาและมีทักษะ ในเชิงปฏิบัติ
           หลักการที่ ๕ ครูพันธุ์ใหม่ใช้ความเข้าใจในตัวเด็กแต่ละบุคคล รวมทั้งการใช้ทั้ง แรงจูงใจและพฤติกรรมของกลุ่มมาสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิด ปฎิสัมพันธ์ ทางสังคมในเชิงสร้างสรรค์ มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจ ในตัวของผู้เรียน
           หลังการที่ ๖ ครูพันธุ์ใหม่รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผล สามารถใช้ กับอากัปกิริยาท่าที รวมทั้งเทคนิควิธีการสื่อความหมายที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กรู้จักถาม รู้จัก แสวงหาความรู้ ตลอดทั้งรู้จักสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน อย่างสร้างสรรค์
           หลักการที่ ๗ ครูพันธุ์ใหม่รู้จักวางแผนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ความ ต้องการของชุมชนและเป้าหมายของหลักสูตร
           หลักการที่ ๘ ครูพันธุ์ใหม่มีความเข้าใจและใช้ยุทธวิธีการประเมินผลในรูปแบบ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อประเมินสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นว่าผู้เรียนจะ ได้รับการพัฒนาทั้งทางสติปัญญา สังคม และร่างกายอย่างต่อเนื่อง
           หลักการที่ ๙ ครูพันธุ์ใหม่จะต้องเป็นนักปฏิบัติการที่มีความถี่ถ้วน รู้จักที่จะ ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองและบุคคลอื่นอย่างต่อเนื่อง (นักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ ในชุมชนการเรียนรู้) พร้อมทั้งหาโอกาสที่จะสร้าง ความก้าวหน้าทางวิชาชีพของตนให้เกิดขึ้น
           หลักการที่ ๑๐ ครูพันธุ์ใหม่จะต้องสร้างความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานในโรงเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่างๆ ในชุมชนขนาดใหญ่ (ชุมชนที่มีเครือข่ายมาก) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเด็ก
           ดิเรก  พรสีมา[๒๒]  ได้กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพยายามในการแก้ปัญหาวิชาชีพครู โดยกำหนดไว้ทั้งแนวนโยบายของรัฐบาลกำหนดไว้ในแผนงานสำคัญระดับชาติ ทั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษาทุกฉบับ รวมทั้งกำหนดเป็นพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์กรที่ดูแลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของครูและพระราบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์กรที่ดูแลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของครูและพระราชบัญญัติเพื่อการจัดตั้งองค์กรการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และมีมติคณะรัฐมนตรีเพื่อตั้งหน่วยงานดูแลการปฏิรูปการฝึกหัดครูโดยเฉพาะ แต่เนื่องจากปัญหาด้านวิชาชีพครูเป็นปัญหาที่ได้รับการสั่งสมมานาน การแก้ปัญหาคงต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในระดับประเทศ ซึ่งเป็นผู้วางนโยบายและกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน ประกอบกับระบบการบริหารทางการศึกษาต้องเอื้อให้ครูและผู้ได้รับผลจากวิชาชีพครูโดยตรง ซึ่งก็คือ ประชากรของประเทศ ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและกำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง
           วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร[๒๓]  กล่าวว่า แผนการพัฒนาสำคัญที่กำหนดทิศทางการดำเนินงานในระดับชาติดังกล่าวถึงความสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อพัฒนากำลังคนของชาติ ทั้งทางด้านการพัฒนาระบบและกลไกในการเลือกสรรบุคคลเข้าเรียนครู การพัฒนากระบวนการฝึกหัดครู การสร้างจิตสำนึกให้ครูมีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง การส่งเสริมขวัญกำลังใจและความมั่นคงในการประกอบอาชีพครู การส่งเสริมให้ครูมีบทบาทเป็นผู้นำทางความคิดและประสานความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน การส่งเสริมให้ครูเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องทั่วถึงและทันการณ์ รวมทั้งการส่งเสริมให้ครูมีใบประกอบวิชาชีพ
           กล่าวได้ว่าแนวทางต่าง ๆ ที่เป็นมาตรการเร่งด่วนในการปฏิรูปครูยุคใหม่ในทศวรรษที่สองนี้จะเป็นยุทธศาสตร์การทำงานเชิงระบบที่มุ่งเน้นการพัฒนาตั้งแต่ระบบการผลิตครูก่อนประจำการ การพัฒนาครูประจำการ รวมทั้งการสร้างความมั่นคงในวิชาชีพ
  
สรุป
           จรรณยาบรรณ เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติที่ได้ประมวลมาเป็นที่เรียบร้อย เพื่อรักษาไว้ในความรับผิดชอบ อาชีพของตน โดยผ่านการคัดสรรค์จากสังคม เพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้
            จรรณยาบรรณครูที่พึงประพฤติปฏิบัติต่อผู้เรียน นั้นคือการตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ บทบาทของครูต้องพยายามที่จะทำให้ลูกศิษย์เรียนด้วยความสุข รักและเข้าใจศิษย์ ครูต้องพยายามศึกษาธรรมชาติของวัยรุ่น ว่ามีปัญหามีความไวต่อความรู้สึก ส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจุบันการส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ยุติธรรม อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนซื่อสัตย์ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ต่อผู้เรียน มิใช่ตนเองเป็นหลักสำคัญ
จรรยาบรรณของครูไว ๙ ประการ ดังนี้
           ๑. ครู ตองรักเมตตา โดยใหความเอาใจใสและ ชวยเหลือ สงเสริม ใหกําลังใจ ในการศึกษาเลาเรียนแกศิษยโดยเสมอหนา
           ๒. ครูตองอบรม สั่งสอน ฝกฝน สรางเสริมความรูทักษะ และนิสัยที่ถูกตองดีงามใหเกิดแกศิษยอยางเต็มที่ความสามารถดวยความบริสุทธิ์ใจ
           ๓. ครูตองประพฤติปฏิบัติตนเปนแบบอยางที่ดีแกศิษยทั้งกายวาจา และจิตใจ
           ๔. ครูตองไมกระทําตนเปนปฏิปกษตอความเจริญทางกาย สติปญญา จิตใจอารมณและสังคมของศิษย
           ๕. ครูตองไมแสวงหาประโยชนอันเปนอามิสสินจางจากศิษยในการปฏิบัติหนาที่ตามปกติและ ไม่ใหศิษยกระทําการใดๆ อันเปนประโยชนใหแกตนโดยมิชอบ
           ๖. ครูยอมพัฒนาทั้งในด้านวิชาชีพ ดานบุคลิกภาพ และวิสัยทัศนใหทนต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยูเสมอ
           ๗. ครูยอมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและ เปนสมาชิกที่ดีขององคกรวิชาชีพครู
           ๘. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสรางสรรค
           ๙. ครูพึงประพฤติปฏิบัติตน เปนผู้นำในการอนุรักษและ พัฒนาภูมิปญญาและวัฒนธรรมไทย
มาตรฐานดานความรูและประสบการณวิชาชีพ เปนคุณลักษณะดานความรูความสามารถ และทักษะเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะตองไดรับการศึกษาและฝึกประสบการณวิชาชีพครูจากสถาบันผลิตครูมาก่อน และถือว่าเปนคุณลักษณะเบื้องตนที่จะไดรับสิทธิในการประกอบวิชาชีพครูเกณฑมาตรฐานดาน ความรูของผูที่จะประกอบวิชาชีพครูครูจะตองมีความรูไมต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางการศึกษา โดยคุณวุฒิปริญญาทางการศึกษานี้จะตองเปนปริญญาที่องคกรวิชาชีพครูใหการรับรอง การไดรับคุณวุฒิเปนหลักประกันวาเปนผูมีความรูและความสามารถที่ไดรับจากการศึกษาในสถาบันผลิตครูนี้อยางนอยจะตองประกอบดวยความรูสําคัญ ๓ ดานคือ
               ๑. ความรูพื้นฐานที่จะทําใหผูประกอบวิชาชีพครูเปนคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมและเขาใจวัฒนธรรมประเพณีไทย ตลอดจนรูเทาทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
               ๒. ความรูเกี่ยวกับวิชาชีพครูมีความรูความสามารถและทักษะที่ใชในการประกอบวิชาชีพครูหรือที่เรียกวาวิชาครูหรือวิชาการศึกษา ซึ่งไดแก วิชาการจัดกระบวนการเรียนรูการจัดการเรียนการสอน การจัดหลักสูตรการผลิตและการใชสื่อทางการศึกษาเปนตน
               ๓. ความรูเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา เปนความรูเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของวิชาที่ตองการใหผูเรียนไดรูเช่น ความรูดานคณิตศาสตรวิทยาศาสตรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เปนตน
           ผูประกอบอาชีพทุกอาชีพจะ ตองมีระเบียบวิธีการปฏิบัติเปน ลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งระเบียบหรือแนวปฏิบัตินั้นจะ ตองสอดคลองกับศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีของสังคม นั่นก็คือ ทุกคนทุกอาชีพจะ ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณแหงวิชาชีพของตน
           มาตรฐานวิชาชีพครูก็คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ตองการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูซึ่ง ครูใชเปนเกณฑ์ในการปฏิบัติงานมาตรฐานวิชาชีพ ครูจึงมีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจัดการเรียนการสอน และมีความแตกตางจากลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจัดการเรียนการสอน และมีความแตกตาง จากลักษณะของการประกอบวิชาชีพอื่น ทั้งนี้มาตรฐานวิชาชีพครูจะเปนหลักเกณฑการปฏิบัติงานของครูเพื่อนําไปสูการพัฒนาครูและการพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาเด็ก และพัฒนาสังคมประเทศชาติใหมีความเจริญกาวหนาและ มีความสุข
           ดังนั้น แนวทางจรรยาบรรณในวิชาชีพครูที่พึงประสงค์ เป็นสิ่งที่ว่าด้วย การสร้างสังคมการเรียนรู้ โดยครูเป็นเพียงผู้แนะนำ มิใช่เป็นผู้สอน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์และองค์ความรู้ที่เด็กได้เป็นสำคัญ



บรรณานุกรม
ไกรนุช  ศิริพลู. ความเป็นครู  Self – Actualization for Teachers. กรุงเทพมหานคร, ๒๕๓๑.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๙). แหล่งที่มา : http://www.onec.go.th /publication/s_fullplan/fullplan.pdf. ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. คุณลักษณะ ครูพันธุ์ใหม่. หนังสือพิมพ์มติชน: วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗.
ดิเรก  พรสีมา, คุรุสภา เปลี่ยนกฎใหม่ขอใบ แม่พิมพ์ขู่ครูเมินผิดแพ่ง-อาญา, ASTVผู้จัดการออนไลน์, ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ ๐๐:๒๑ น. ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
ทัศนีย์  บัวคำ, วิชาชีพสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๑.
ธัญญาภรณ์  สมบูรณ์. คุณลักษณะของครูที่ดีตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต (กาบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. ๒๕๔๔.
นคร  พันธุณรงค์. การพัฒนาวิชาชีพครู : สาระสำคัญที่ควรทราบ. เชียงใหม่: โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. ๒๕๕๓.
บวร  ทองยัง. จรรยาบรรณครูของครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี โดยการรับรู้ของเพื่อนครูและกรรมการโรงเรียน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา. ๒๕๔๓.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ วิชาชีพและข้อกำหนด.(พ.ศ. ๒๕๔๒).  แหล่งที่มา : http://www.moe.go.th/ edtechfund/fund. ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
พิบูลย กระแสสุข. การส่งเสริมพฤติกรรมครูตามจรรยาบรรณในโรงเรียน สังกัดสานักงานประถมศึกษาอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารการศึกษา).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๒.
พฤทธิ์  ศิริบรรณพิทักษ์. จรรยาบรรณวิชาชีพครู. แหล่งที่มา ; http://www.edu.chula.ac.th/knowledge/rule/ adm-rule.htm. ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
ยนต์ ชุ่มจิต. ความเป็นครู. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. ๒๕๓๔.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๙.
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, ยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจ-เทคโนโลยีในการพัฒนาไทยให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม,บทความแหล่งที่มา; http://www.royin.go.th/upload/knowledge/htmlfiles/care-1359-5509.html/, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
Teacher Professional Development. จรรยาบรรณในวิชาชีพครู. แหล่งที่มา ; https://educ105.wordpress.com  /จรรยาบรรณในวิชาชีพครู/, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
สํานักเลขาธิการคุรุสภา ฝ่ายวิจัย กองวิชาชีพครู. เอกสารเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว. ๒๕๔๑.
สำนักงาน ก.พ, จรรยาบรรณ, แหล่งที่มา ; http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com _content&view =article&id=433&Itemid=209. ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
อำรุง จันทวานิช, (๒๕๔๑), การประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษากระทรวงศึกษาธิการในแนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว. ๗๘
Delors; others. Learning : The Treasure within.Report to UNESCO of theInternational Commissiion on Education for the Twenty first Century Vendome:Unesco Publishing. ๑๙๙๖.




*คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา นิสิตชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
[๑]Teacher Professional Development, จรรยาบรรณในวิชาชีพครู, แหล่งที่มา; https://educ105.wordpress.com /จรรยาบรรณในวิชาชีพครู/, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๒] Teacher Professional Development, จรรยาบรรณในวิชาชีพครู, แหล่งที่มา; https://educ105.wordpress.com /จรรยาบรรณในวิชาชีพครู/, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๓]พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๙), หน้า ๔.
[๔]ทัศนีย์ บัวคำ, วิชาชีพสาธารณสุข, (กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๑), หน้า ๑
[๕]พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ,วิชาชีพและข้อกำหนด, แหล่งที่มา ; http://www.moe.go.th/ edtechfund/fund. ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๖] ราชบัณฑิตยสถาน,พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๙), หน้า ๔.
[๗] สำนักงานก.พ, จรรยาบรรณ, http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view =article&id=433&Itemid=209, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๘] ไกรนุช ศิริพูล . ความเป็นครู  Self – Actualization for Teachers, (กรุงเทพมหานคร : นิยมวิทยา., ๒๕๓๑), หน้า ๑๑๓.
[๙] ยนต์ ชุ่มจิต, ความเป็นครู, (กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๔), หน้า ๒๐๐.
                [๑๐] พิบูลย กระแสสุข, การส่งเสริมพฤติกรรมครูตามจรรยาบรรณในโรงเรียน สังกัดสานักงานการประถมศึกษาอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ ศศ.ม, (การบริหารการศึกษา). (เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๒), หน้า ๒๓-๒๔.
                [๑๑] พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, จรรยาบรรณวิชาชีพครู, แหล่งที่มา http://www.edu.chula.ac.th/knowledge /rule/adm-rule.htm, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๑๒] สํานักเลขาธิการคุรุสภา ฝ่ายวิจัยกองวิชาชีพครู, เอกสารเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู. พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว,๒๕๔๑).
            [๑๓] บวร ทองยัง, จรรยาบรรณครูของครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี โดยการรับรู้ของเพื่อนครูและกรรมการโรงเรียน, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, (ชลบุรี :มหาวิทยาลัยบูรพา, ๒๕๔๓), หน้า ๒๒-๓๔.
                [๑๔] ธัญญาภรณ์ สมบูรณ์, คุณลักษณะของครูที่ดีตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต,(การบริหารการศึกษา), (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, ๒๕๔๔:),หน้า๑-.
[๑๕] Teacher Professional Development, จรรยาบรรณในวิชาชีพครู, แหล่งที่มา; https://educ105.wordpress.com /จรรยาบรรณในวิชาชีพครู/, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
                [๑๖] อำรุง จันทวานิช, การประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษากระทรวงศึกษาธิการในแนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว, ๒๕๔๑), หน้า ๗๘.
                [๑๗] นคร พันธุณรงค์, การพัฒนาวิชาชีพครู : สาระสำคัญที่ควรทราบ. (เชียงใหม่ : โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓). หน้า ๓-๔.
                [๑๘] คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๙). แหล่งที่มา : http://www.onec.go.th /publication/s_fullplan/fullplan.pdf, ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘. หน้า ๒๓-๒๔.
                [๑๙] Delors; others.: Learning : The Treasure within.Report to UNESCO of theInternational Commissiion on Education for the Twenty first Century Vendome, (๑๙๙๖).
                [๒๐] ธีรศักดิ์  อัครบวร, ความเป็นครูไทย, (กรุงเทพมหานคร : ก.พลพิมพ์ ๒๕๔๔:), หน้า ๓๗-๓๙.
[๒๑] ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง, คุณลักษณะ ครูพันธุ์ใหม่, หนังสือพิมพ์มติชน: วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗.
[๒๒] ดิเรก  พรสีมา, คุรุสภา เปลี่ยนกฎใหม่ขอใบ แม่พิมพ์ขู่ครูเมินผิดแพ่ง-อาญา, ASTVผู้จัดการออนไลน์, ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓, 00:๒๑ น, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๒๓] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, ยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจ-เทคโนโลยีในการพัฒนาไทยให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม, บทความ,  แหล่งที่มา; http://www.royin.go.th/upload/knowledge/htmlfiles/care-1359-5509.html/, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.

ความคิดเห็น