คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ ๒๑

คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ ๒๑

  By มาวิน  โทแก้ว นักวิชาการมือใหม่

บทนำ
           โลกเรากำลังเผชิญกับวิกฤตที่สำคัญและยิ่งใหญ่  วิกฤตนี้เป็นการท้าทายเราเหล่าสัตว์โลกที่เป็นเวไนยสัตว์  เราพบว่าความเจริญทางวัตถุก็ดี  ความสามารถที่เราเอาชนะธรรมชาติได้ก็ดี  การรู้และค้นพบสิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนก็ดี  ความมั่งคั่งของประเทศตลอดจนความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสื่อสารคมนาคมที่ย่อโลกอันกว้างใหญ่ให้เป็นจุดเดียวกันเชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วก็ดีไม่ได้ช่วยให้เรามีความสามารถเพิ่มขึ้นในการแก้ไขปัญหาเรื้อรังหลายด้านของสังคม  ทั้งในระดับชุมชน  ชาติ  และนานาชาติ  เราเชื่อว่าการศึกษามีหรือควรมีบทบาทและภารกิจสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์เพื่อแก้ไขปัญหานี้ 
           ขณะนี้สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบถึงคนไทยทุกคน  ทำอย่างไรคนไทยจึงจะสามารถผนึกกำลัง  ร่วมแรงร่วมใจกันกู้สถานการณ์ของประเทศให้พลิกฟื้นกลับคืนสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว  สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่อุบัติเหตุ  แต่เป็นเหตุที่หลายคนไม่ตระหนัก  เพิกเฉยและรู้เท่าไม่ถึงการณ์  บทเรียนครั้งนี้ คุ้มค่า” สำหรับคนไทยที่จะได้ร่วมกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุและรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งก็คือคนไทยโดยรวมยังขาด ความรู้ภูมิปัญญา ที่จะนำพาประเทศให้คงอยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นโลกที่ไร้พรมแดน  ทั้งด้านความรู้  เศรษฐกิจ  เทคโนโลยีสารสนเทศ  เชื้อชาติ  ศาสนา  วัฒนธรรม  ฯลฯ  การจะเกิดซึ่ง ความรู้ภูมิปัญญาได้นั้นทุกคนในชาติจักต้องได้รับการศึกษาที่ดี  มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ  เฟืองจักรสำคัญที่จะนำพาสู่การศึกษาที่ดีมีคุณภาพก็คือ  ครูผู้เขียนจึงได้เสนอประเด็นที่สำคัญ ๔ ประการ คือ
๑.      ความหมายของครู
๒.      ความสําคัญ บทบาท หนาที่ ภาระงานของครู
๓.      สาเหตุของการผลิตครูรุ่นใหม่
๔.      คุณลักษณะครูรุ่นใหม่ที่ควรมี
๕.      หลักสูตรผลิตครูรุ่นใหม่

๑.   ความหมายของครู
           ครู มีรากศัพท์เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ครุ (คะรุ) ซึ่งแปลว่าหนักแน่น และสันสกฤตว่า คุรุ (คุ-รุ) ซึ่งแปลว่า “ผู้ชี้แสงสว่าง” แต่โดยความหมายในภาษาไทยก็คือครูผู้สอนประสิทธิ์ประสาทความรู้ อบรมบ่มนิสัยศิษย์ให้เป็นคนดี ยกระดับวิญญาณความรู้ดีชั่วให้แยกแยะความดีความชั่ว และรู้จักการดำรงชีวิตในแนวทางที่ถูกต้องมีคุณธรรม และมีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของครูไว้ดังนี้
           พระเทพวิสุทธิเมธี[๑] อธิบายความหมายและความเป็นมาของคำว่าครูไว้ว่า เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประทางตูวิญญาณ แล้วก็นำไปเดินทางวิญญาณ ไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ หรือมรรยาท หรือแม้แต่อาชีพ จึงมีน้อยมาก ครูนั้นมักจะไปทำหน้าที่เป็นปุโรหิตของพระราชา หรืออิสระชนซึ่งมีอำนาจวาสนา มีหน้าที่การงานอันใหญ่หลวง
           พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน[๒] ให้ความหมายครูไว้ว่า ผู้สั่งสอนศิษย์หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์
           ยนต์  ชุมจิต[๓] ได้อธิบายความหมายและความสำคัญของครูตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษ Teachers ซึ่งสรุปได้ดังนี้
           T (Teaching) – การสอน หมายถึง การอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถในวิชาการทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งถือว่าเป็นงานหลักของครูทุกคนทุกระดับชั้นที่สอน
           E (Ethics)-จริยธรรม หมายถึงหน้าที่ในการอบรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักอีกประการหนึ่งนอกจากการสั่งสอนในด้านวิชาความรู้โดยทั่วไปนอกจากนี้ครูทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมอันเหมาะสมอีกด้วยเพราะพฤติกรรมอันเหมาะสมที่ครูได้แสดงออกจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปลูกฝังศรัทธาให้ศิษย์ได้ปฏิบัติตาม
           A ( Academic) – วิชาการ หมายถึง ครูต้องมีความรับผิดชอบในวิชาการอยู่เสมอ กล่าวคือ ครูต้องเป็นนักวิชาการอยู่ตลอดเวลา เพราะอาชีพของครูต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ดังนั้นครูทุกคนต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ หากไม่กระทำเช่นนั้นจะทำให้ความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมานั้นล้าสมัย ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการใหม่ ๆ ซึ่งมีอย่างมากมายในปัจจุบัน
           C (Cultural Heritage) – การสืบทอดวัฒนธรรม หมายถึงครูต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งให้ตกทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
           H (Human Relationship) – มนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง การมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีของครูต่อบุคคลทั่วๆไป เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ครูสามารถปฏิบัติหน้าที่ของครู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครูยังช่วยทำให้สถาบันศึกษาที่ครูปฏิบัติงานอยู่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกด้วย ดังนั้น ครูทุกคนจึงควรถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบอีกประการหนึ่งที่จะต้องคอยผูกมิตรไมตรีอันดีระหว่าง บุคคลต่าง ๆ ที่ครูมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มนุษย์สัมพันธ์ระหว่างครูกับบุคคลต่างๆ
           E (Evaluation) – การประเมินผล หมายถึงการประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งของครูเพราะการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นการวัดความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ในด้านต่างๆหากครูสอนแล้วไม่มีการประเมินผลหรือวัดผลครูก็จะไม่ทราบได้ว่าศิษย์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านใดมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ครูจึงควรจะระลึกอยู่เสมอว่า ณ ที่ใดมีการสอน ทีนั่นจะต้องมีการสอบ สำหรับการประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียนนั้น ครูสามารถใช้วิธีการต่าง ๆ ได้หลายวิธี ทั้งนี้อาจจะใช้หลาย ๆ วิธีในการประเมินผลครั้งหนึ่งหรือเลือกใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ในการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีหลายวิธี เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดสอบ การจัดอันดับคุณภาพ การใช้แบบสอบถามและแบบสำรวจ การบันทึกย่อและระเบียนสะสม เป็นต้น
           การประเมินผลการเรียนการสอนทุกๆ วิชา ครูควรประเมินความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนหลายๆ ด้าน ที่สำคัญ คือ ด้านความรู้ (Cognitve Domain) ด้านเจตคติ ( Affective Domain) ด้านการปฏิบัติ (Psychomotor Domian)
           R (Research) – การวิจัย หมายถึง ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหา เพราะการวิจัยเป็นวิธีการแก้ปัญหาและการศึกษาหาความจริง ความรู้ที่เชื่อถือได้โดยวิธี การวิจัยของครูในที่นี้ อาจจะมีความหมายเพียงแค่ค้นหาสาเหตุต่าง ๆ ที่นักเรียนมีปัญหาไปจนถึงการวิจัยอย่างมีระบบในชั้นสูงก็ได้ สาเหตุที่ครูต้องรับผิดชอบในด้านนี้ก็เพราะในการเรียนการสอนทุกๆ วิชา ควรจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ปัญหาเด็กไม่ทำการบ้าน เด็กหนีโรงเรียน เด็กที่ชอบรังแกเพื่อน และเด็กที่ชอบลักขโมย เป็นต้น พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าครูสามารถแก้ไขได้ก็จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
           S (Service) บริการ หมายถึง การให้บริการ คือ ครูจะต้องให้บริการแก่สังคมหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังต่อไปนี้
           ๑. บริการความรู้ทั่วไป ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนในท้องถิ่น
           ๒. บริการความรู้ทางด้านความรู้และสุขภาพอนามัย โดยเป็นผู้ให้ความรู้หรือเป็นผู้ประสานงานเพื่อดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชน
              ๓.  บริการด้านอาชีพ เช่น ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้ประชาชนในท้องถิ่น
           ๔. บริการให้คำปรึกษาหารือทางด้านการศึกษาหรือการทำงาน
           ๕. บริการด้านแรงงาน เช่น ครูร่วมมือกับนักเรียนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน
              ๖.  บริการด้านอาคารสถานที่แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มาขอใช้อาคารสถานที่ในโรงเรียนด้วยความเต็มใจ
           พอสรุปความ ได้ว่า ครู หมายถึง ผู้เปิดประตูทางวิญญาณ ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ที่ตนมี เพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้เกิดการพัฒนา ด้วยวิธีการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียน เพื่อสร้างบุคลากรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศ

๒. ความสําคัญ บทบาท หนาที่ ภาระงานของครู
           ไมว่าจะเปนอดีต ปจจุบันหรืออนาคต ครูยอมมีความสําคัญต่อสังคม ประเทศชาติแม้กลาว คือ ตราบใดที่สังคมมนุษย์ยังสามารถผลิตสมาชิกใหมให้สังคม ความต้องการครูก็จะยังมีอยูตลอดไป อาจมีขอจํากัดอยูแต่เพียงในเรื่องจํานวนและความสามารถของครูในด้านต่างๆ ทั้งนี้เพราะปจจุบันโลกได้พัฒนาไปมากเชนเดียวกัน ดังนั้นความต้องการใช้ครูจึงต้องให้สอดคลองกับความต้องการของสังคมด้วย
           ไมว่าครูจะมีความรู้ความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกันเพียงใด แต่บทบาทของครูโดยสวนรวมแลวจะยังอยูในลักษณะเดียวกัน คือ นอกจากครูจะต้องรักบทบาทเปนผู้สอนคนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการต่างๆ แลว ครูยังจะต้องรับบทบาทในการพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆอีก เชน การพัฒนาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนาและวัฒนธรรม เปนตน ดังนั้น ครูจึงต้องรับบทหนักทั้งในอดีตและปจจุบัน และเปนบทบาทในการสรางสังคมในด้านต่างๆ ให้มีความเจริญกาวหนา เพื่อที่พวกเขา จะได้เปนคนที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป พรชัย หันจันทร[๔] ได้กําหนดบทบาทหนาที่ของครูไวดังนี้
           ๑.  ครูจะต้องเปนนักวิจัย เก็บขอมูลให้ละเอียดว่าปัญหาสังคมในปจจุบันมีอะไรที่ครูจะต้องรวมมือแก้ไข
           ๒.  ครูต้องเปนนักวิเคราะหเมื่อหาขอมูลมาพรอมก็นําปัญหาเหลานั้นมาวิเคราะหตนตอของปัญหาให้ละเอียด
           ๓.  ครูจะต้องเปนนักวิจารณ์ทั้งปัญหาของตนเอง ของนักเรียนและสังคมด้วยวิธีจิตวิทยาเพื่อความกระจางของปัญหา ครูจะต้องเปนคนกลาที่จะแสดงว่าครูเข้าใจปัญหาและพรอมที่จะแก้ปัญหา
           ๔.  ครูจะต้องมีความสามารถนําคุณคาของบทเรียนมาเปนตัวเชื่อมโยงผสมผสานให้เกิดการแก้ไขปัญหาในสังคมอยางมีประสิทธิภาพ
           สวน นิภาภัทร รอยดาพันธ[๕] ได้กลาวถึงบทบาทเฉพาะตัวของครูบทบาทที่มีต่อนักเรียนและบทบาทที่มีต่อสังคม ดังนี้
           ๑.  บทบาทเฉพาะตัว ครูจะต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ทันสมัย รักการอาน การคนควา เพื่อพัฒนาวิชาชีพของตนเองอยูเสมอ และประพฤติปฏิบัติตนอยูในกรอบในด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เปนที่ยอมรับของชุมชนและสังคม โดยที่การศึกษาคนควา วิจัยให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเปนหลัก จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนของตน รวมถึงการสรางบรรยากาศและสภาพแวดลอมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยยึดหลักว่า ทุกสถานที่ ทุกแหงเปนแหลงเรียนรู้และทุกสิ่งที่พบลวนเปนสื่อการเรียนการสอน
           ๒.  บทบาทต่อนักเรียน ครูต้องเปนผู้แนะนํา ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนรู้จักการศึกษาคนควา เป็นผู้จัดประสบการณ์ให้เด็กโดยกําหนดวัตถุประสงคให้เกี่ยวของกับชีวิตและสิ่งซึ่งเปนที่ต้องการของผู้เรียนและสังคม แนะนําผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงคนั้นโดยจัดให้มีประสบการณ์ต่างๆโดยต้องเลือกจัดเนื้อหาและวิธีการสอนให้เหมาะกับความต้องการทางจิตวิทยาของผู้เรียน รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้น่าสนใจและมีประโยชนมีความสามารถประเมินผลการเรียนรู้ได้ให้สามารถทํางานเปนกลุม มีวินัยในตนเอง ให้ความรัก ความเอาใจใสอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเปนผู้มีคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงคของสังคม
           ๓. บทบาทต่อสังคม ครูมีบทบาทในการสรางความสัมพันธความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน ซึ่งครูจะต้องมีสวนรวมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนและสังคม ประพฤติตนเปนแบบอยางที่ดีของชุมชน ทั้งในด้านคุณลักษณะสวนตัวของครูเจตคติต่ออาชีพ นิสัยในการทํางานศีลธรรม ความกลา ความจริงใจและความตรงต่อเวลาและสรางความสัมพันธอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ครูเปนสมาชิกของสังคมโรงเรียนจึงควรเปนผู้ฟงที่ดีเต็มใจทํางาน คํานึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นและนับถือประเพณีของโรงเรียน และเปนสื่อกลางของโรงเรียนและชุมชน
           จุฑา บุรีภักดี[๖] ได้กลาวถึงหนาที่ของครูไวดังนี้
           ๑. ทําบัญชีเรียกชื่อ
           ๒. ทําสมุดประจําชั้นและทะเบียนประวัตินักเรียน
           ๓. ทําสมุดรายงานประจําตัวนักเรียน
           ๔. ทํารายงานผลการเรียน
           ๕. สอนและเตรียมการสอน
           ๖. ตรวจงานของนักเรียน
           ๗. ปกครองนักเรียน
           ๘. ควบคุมชั้น
           ๙. อบรมและสั่งสอนนักเรียน
           ๑๐. จัดหองเรียนให้มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียน
           ๑๑. จัดและเก็บเอกสารและอุปกรณ์การสอนเข้าหมวดหมู
           ๑๒. รู้และปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน
           ๑๓. ประสานงานกับครูใหญ เพื่อนรวมงาน คนงาน นักการภารโรง และเชี่ยวชาญอื่นๆ
           ๑๔. แนะแนวนักเรียนและผู้ปกครอง
           ๑๕. สอนซอมเสริม
           ๑๖. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
           ๑๗. ตรวจสุขภาพทั่วไปและการแต่งกายของนักเรียนทุกเชา
           ๑๘. ดูแลความปลอดภัยและช่วยเหลือนักเรียนที่เจ็บปวย
           ๑๙. ดูแลความสะอาดเรียบรอยของโรงเรียนและหองเรียน
           ๒๐. ติดต่อกับผู้ปกครองและชุมชน
           ๒๑. รวมกิจกรรมของนักเรียนและชุมชน
           ๒๒. เปนตัวอยางที่ดีของนักเรียนและชุมชน
           จากแนวทางการปฏิบัติดังกลาวเกี่ยวกับบทบาทและหนาที่ความรับผิดชอบของครูพอจะสรุปได้ว่า บทบาทและหนาที่ความรับผิดชอบของครูก็คือบทบาทและหนาที่ความรับผิดชอบที่มีต่อศิษย์ต่อสถานศึกษา ต่อเพื่อนครูต่อชุมชน ต่อผู้บังคับบัญชา และต่อความมั้นคงของชาติซึ่งบุคคลที่จะมาถึงพรอมด้วยความเปนครูจะต้องพยายามรักษาบทบาทหนาที่และความรับผิดชอบต่างๆ เหลานี้ด้วยความสํานึก ด้วยความเต็มใจ และประพฤติอยางเครงครัด เพื่อให้สมกับคําว่า แมพิมพพอพิมพของชาติต่อไป

           แผนการศึกษาแหงชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๙)[๗]  กลาวถึงคุณลักษณะของครูที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา มีดังนี้
           ๑. มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
           ๒. มีความรู้และความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เนนผู้เรียนเปนสําคัญ
           ๓. มีมาตรฐานวิชาชีพและได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพ
           ๔. มีความรู้และความสามารถทางด้านวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
           ๕. มีความรู้ความสามารถจัดการเรียนการสอนอยางมีคุณภาพและเปนระบบ
           ๖. มีทักษะและกระบวนการในการคิด การวิเคราะหและการแก้ปัญหา
           ๗. มีทักษะและกระบวนการในการคิด การวิเคราะหและการแก้ปัญหา
           ๘. มีความใฝ่รู้และสามารถประยุกตใช้ความรู้อยางถูกต้องเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องเต็มตามศักยภาพ
           พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรฐานวิชาชีพครูคุณลักษณะของครูที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรปการศึกษา[๘]  มีดังนี้
           ๑. ด้านความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติของผู้เรียนและธรรมชาติของการเรียนรู้
           ๒. ด้านความรู้ความสามารถในเนื้อหาสาระวิชาที่สอน
           ๓. ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิชาชีพครู
           ๔. ด้านความรู้และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้
           ๕. ด้านความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
           ๖. ด้านความรู้ความสามารถและทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ
           ๗. ด้านบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู

           วิไล ตั้งจิตสมคิด[๙] สรุปได้ว่า ลักษณะของครูที่มีความรู้ดีได้แก่ คุณสมบัติสวนตัวที่เกี่ยวของกับความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการที่จะสอน ตลอดจนการเปนผู้ที่มีสติปัญญาดีเฉลียวฉลาด เชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดสรางสรรครู้จักแสวงหาความรู้ใหมๆเปนตน ที่สําคัญอีกประการหนึ่งของครูคือการสอนดีและปกครองดีสามารถอธิบายได้รวบรัดชัดเจน สอนสนุกทําเรื่องที่ยากใช้งายได้ควบคุมชั้นเรียนให้อยูในระเบียบวินัย เปนตน สอดคลองกับ สมศักดิ์  ดลประสิทธิ์[๑๐] กลาวว่า ครูต้องมีความรู้ความสามารถ และทักษะเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เนนผู้เรียนเปนสําคัญ มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาสาระวิชาที่สอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาต่างประเทศเพื่อการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความสามารถจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลองกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน มีความสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง รักการอานและเกิดการใฝ่รู้อยางต่อเนื่อง มีความสามารถจัดสภาพแวดลอมทั้งในและนอกหองเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรู้ความสามารถใช้การวิจัยเปนสวนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้มีความสามารถประเมินผู้เรียนจากพัฒนาการของผู้เรียน นอกจากนี้สวนสําคัญต้องมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองอยางต่อเนื่องและเปนบุคคลแห่งการเรียนรู้มีทักษะและกระบวนการในการคิดการวิเคราะหและการแกป ญหา มีความใฝ่รู้และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้อยางถูกต้องเหมาะสม
           นิรมล แจมจํารัส[๑๑] กลาวว่า ครูต้องมีความรู้ความสามารถในการดําเนินการสอน ดังนี้
           ๑. รอบรู้วิทยาการกวางขวาง ครูจะต้องเปนผู้ชี้นําในการศึกษาเลาเรียนให้แก่นักเรียนช่วยเหลือด้านการเรียนและการประพฤติของนักเรียน ตลอดจนสามารถแนะแนวให้นักเรียนเข้าใจและสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ครูจึงต้องเปนผู้รอบรู้ในศาสตรสาขาต่างๆอยางกวางขวาง
           ๒. มีความรู้ในวิชาที่สอนดีครูต้องมีความรู้ในเรื่องที่ต้องสอน วิชาที่ต้องรับผิดชอบในการให้ความรู้หรือประสบการณ์แก่นักเรียน ความรู้ในวิชาที่สอนนั้นจะดีมากนอยเพียงไรก็ขึ้นอยูกับการเตรียมการสอน ความขยันหมั่นเพียรและความใฝ่รู้ของครูด้วย
           ๓. มีความรู้ในวิธีสอนดี ครูที่มีความรู้ดีจะต้องสามารถสอนได้ดีด้วย ในการประกอบอาชีพครูนั้นการสอนเปนงานสําคัญที่สุด ฉะนั้นครูจึงควรวางแผนการสอนอยางดีไมว่าจะเปนการกําหนดจุดประสงครูปแบบการสอน วิธีสอนอุปกรณ์การสอน การสอน การจัดกิจกรรมการสอน และการประเมินผลการเรียน
           ๔. มีความคิดริเริ่มสรางสรรค ครูที่ดีจะต้องมีความพยายามริเริ่มและหาวิธีการใหมๆเพื่อนํามาใช้ในการศึกษาแก่นักเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น การพยายามปรับปรุงงานสอนใหท นตั อเหตุการณ์อยูเสมอนั้นเปนการพัฒนาการสอนที่ดีที่สุด เปนความคิดริเริ่ม นอกจากนี้ความพยายามหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในด้านวิชาการ วิธีสอนตลอดจนความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวใหมๆ ในวงการศึกษาเหลานี้จําเปนอยางมากสําหรับอาชีพครูในปจจุบัน
           ๕. เจตคติต่ออาชีพ ครูต้องมีศรัทธาต่องานครูสนใจที่จะแก้ไขปัญหาต่างที่เกิดขึ้น ไมว่าจะมาจากนักเรียน เพื่อนครูด้วยกัน ผู้ปกครองหรือผู้บริหารก็ตามให้สําเร็จลุลวงไปด้วยความกระตือรือรนและทํางานให้ได้รับความสําเร็จอยางดีนอกจากนี้ครูต้องตั้งใจพัฒนาการทํางานให้ดียิ่งขึ้นอยูเสมอ
           ๖. มีความสามารถในการปรับบทเรียนให้กับนักเรียน ครูที่สอนดีต้องรู้จักปรับปรุงวิธีสอนอยูตลอดเวลา เนื้อหาให้สอดคลองกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและสังคมอยูเสมอความสามารถปรับบทเรียนให้สอดคลองกับการดําเนินชีวิตของนักเรียนด้วย
           ๗. มีความเข้าใจศิษย์ ครูที่ดีจะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลของศิษย์แต่ละคน ทั้งการสอนและการปกครองจะเปนไปด้วยดีถาหากว่าครูเข้าใจปัญหาพื้นฐานของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ยิ่งครูสามารถเข้าใจนักเรียนได้ดีเท่าไร ก็ย่อมสามารถช่วยเหลือนักเรียนทางด้านการเรียนและความประพฤติได้ดีขึ้นเท่านั้น
           ๘. มีความสามารถในการใช้กลวิธีการสอนต่างๆ ครูต้องสามารถใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและวัยของนักเรียนในแต่ละชั้นเรียน ความสามารถของครูที่จะปรับวิธีการดำเนินการสอนให้นักเรียนเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนนั้น ครูจะต้องเข้าใจธรรมชาติของวิธีการสอนแต่ละแบบอย่างถ่องแท่นอกจากนี้ครูจะต้องรู้จักใช้อุปกรณ์การสอนหรือสื่อการสอนให้เหมาะสมกับบทเรียน ครูจะต้องรู้จักเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจและอยากรู้อยากเห็น ตั้งใจที่จะศึกษาเรื่องราวที่ครูสอนด้วย ครูจะต้องสอนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดแก้ปัญหาต่างๆ ได้ตลอดจนช่วยให้นักเรียนรู้วิธีการที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
           สรุปได้ว่า คุณลักษณะด้านวิชาชีพครูได้แก่ มีความสามารถในการสอน เข้าใจธรรมชาติการสอน และปรับวิธีการดําเนินการสอนให้นักเรียนเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะเรียน ชี้แนะแนวทางความรู้ในวิชาที่สอน มีความใฝ่รู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพครู

๓.   สาเหตุของการผลิตครูรุ่นใหม่
           จากการศึกษาสภาพการณ์ ( Contextual Study )  ความต้องการจำเป็นต่อการผลิตครูรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ ได้ข้อค้นพบว่า
           ๑.  สังคมส่วนรวมมีความเชื่อว่า  การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนให้สามารถนำการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  และวัฒนธรรม  ให้เหมาะสม  สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกประเทศ  ผลผลิตของระบบการศึกษาคือพลเมืองของประเทศที่สามารถปรับตัวและสามารถแก้ปัญหาที่มีความหลากหลายในสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสามารถริเริ่มพัฒนาตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  ตลอดจนประเทศให้พัฒนาและก้าวหน้าไปได้อย่างมีหลักการบนพื้นฐานของความเข้าใจเหตุและผล  ความถูกต้อง  ความดีงาม  และความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
           ๒.  สังคมส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า การศึกษาที่พึงประสงค์ในสังคมปัจจุบันจะต้องเป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนให้สมดุลทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา  จิตใจและสังคม  ทั้งในระดับความคิด  ค่านิยมและพฤติกรรม  ซึ่งต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคล  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ  โดยปรับแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาให้เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยจัดการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  จัดในรูปแบบที่หลากหลาย  เพื่อสนองความต้องการ  ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน
           ๓.  คนส่วนมากมีความเชื่อว่า  การจัดการศึกษาในลักษณะที่ต้องการจำเป็นจะต้องใช้ครูที่มีลักษณะเฉพาะ  มีความสามารถสูง  (เป็นครูรุ่นใหม่ระดับครูมืออาชีพ) และได้รับการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรและวิธีการสอนที่มีความเข้มข้นและมีคุณภาพมาอย่างดี  สามารถทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพมีศักดิ์ศรีและมีเกียรติ ในอดีตสังคมไทยเคยยกย่องครูโดยเปรียบเทียบเป็นปูชนียบุคคลที่รอบรู้  รู้จริง  รู้แจ้ง  ทั้งนี้เพราะครูในอดีตส่วนใหญ่คือ พระอาลักษณ์  นักปราชญ์และผู้รู้ในหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็น คนดี  คนเก่ง  ในวิชาความรู้แขนงต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันความรู้สึกผูกพันต่อครูดังกล่าวได้เสื่อมถอยลง  อันเนื่องมาจากครูต้องปรับพฤติกรรมตามสภาพทางเศรษฐกิจ  สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  ความเชี่ยวชาญทางวิชาการและความเอาใจใส่ต่อเด็กลดถอยลง
           ๔.  จากสาระการปฏิรูปและกระแสสังคม เศรษฐกิจบ่งชี้วิสัยทัศน์ พบว่าในโลกยุคใหม่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society)  ครูจะต้องมีบทบาทหน้าที่ซับซ้อนขึ้น ครูจะต้องมีความรู้  ประสบการณ์และก้าวทันสถานการณ์โลก จะต้องเป็นผู้มองกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้  ครูจะต้องจัดระบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา คือ ต้องสอนโดยยึดพื้นฐานความรู้  ความสามารถ  ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก  ครูในอนาคตจึงต้องมีมาตรฐานคุณภาพในระดับครูมืออาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคมในระดับสูง ดังนั้น ครูจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับสังคมยุคใหม่  ที่จะปรับเปลี่ยนไปทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยเชื่อว่าครูในปัจจุบันและอนาคตจะต้องมีคุณลักษณะโดดเด่น  ดี  เก่ง  ทันโลกและเป็นครูมืออาชีพ
           ๕.  จากการวิเคราะห์ พบว่า  ในปัจจุบันวิกฤติในวงการครูทั้งในประเทศและต่างประเทศปัญหาหลักๆ จะคล้ายคลึงกัน ได้แก่ การที่คนดีคนเก่งไม่สนใจเข้าเรียนครูเป็นลำดับต้น ๆ เมื่อเรียนสำเร็จแล้วส่วนหนึ่งจะไม่ประกอบอาชีพครู  ทำให้ไม่สามารถบำรุงรักษาครูดีๆ ไว้ได้  ทั้งนี้เหตุผลหนึ่งเนื่องมาจากค่าตอบแทนของครูต่ำมากเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ความตั้งใจและทุ่มเทต่อการเรียนการสอนของครูก็ลดต่ำลงประกอบกับการเรียนการสอนในสถาบันฝึกหัดครูมุ่งสอนเนื้อหามากกว่าให้คิดวิเคราะห์และปฏิบัติ  การสอนไม่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ดังนั้นครูในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงขาดความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็นครู  ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ความนิยมยกย่องของสังคมต่อครูจึงลดลงทำให้วิชาชีพครูตกต่ำลง  รวมทั้งในต่างประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤติครูดังกล่าวข้างต้นต่างก็พยายามแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาของครู เช่นเดียวกันซึ่งประสบความสำเร็จมาในระดับหนึ่งซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างให้เป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทย  ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของครู  โครงสร้างการบริหารจัดการเกี่ยวกับครูและระบบโรงเรียน  ศักดิ์ศรีการยอมรับในวิชาชีพครูที่ถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ยั่งยืน  ประโยชน์เกื้อกูลและการส่งเสริมพัฒนาบทบาทวิชาชีพครูทั้งตนเอง  ระบบการศึกษาและการบริหารจัดการโดยรวมที่สอดคล้องสัมพันธ์กับโครงสร้างด้านอื่นเช่นเศรษฐกิจ  สังคม การดำรงชีพ วัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  และจิตวิทยา
           ประเทศไทยกับสภาพการณ์ที่ปรากฏ (Situation Study) สามารถมองเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงและมีประเด็นสำคัญที่เป็นเหตุผลและความเกี่ยวข้องกับความจำเป็นในการพัฒนาครูรุ่นใหม่การพัฒนาครูรุ่นใหม่และวิชาชีพครู พอสรุปได้ดังนี้[๑๒]
           ๑.  ประเด็นความล้มเหลวด้านคุณภาพของผู้เรียน  ซึ่งปรากฏข้อมูลเชิงประจักษ์ในการแข่งขันทางวิชาการในระดับนานาชาติหรือในระดับเอเชียและการจัดคุณภาพการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล  ระดับนานาชาติของสถาบัน IMD ซึ่งพบว่าคุณภาพของประเทศไทยอยู่อันดับท้าย ๆ
           ๒.  ประเด็นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ได้ก่อให้เกิดแนวทางและมาตรการปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษาและปฏิรูปโรงเรียน
           ๓.  ประเด็นการใช้กฎหมายให้เป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการด้านการศึกษา นอกเหนือจากแผนการศึกษาแห่งชาติ  ซึ่งพบว่า  กฎหมายหลักและกฎหมายประกอบทางการศึกษาทำให้เกิดผลบังคับและคิดค้นแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับครู  และหลักสูตรพัฒนาครู  เช่น  การเน้นคุณภาพผลผลิต  โครงสร้างการบริหารองค์การครู  การบริหารงานบุคคล  การจัดองค์กรวิชาชีพ  การออกใบประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู  จรรยาบรรณวิชาชีพครู  การอนุมัติหลักสูตร  คุณวุฒิ  วิทยฐานะ  ค่าตอบแทนวิชาชีพครูและการยกฐานะวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
           ๔.  ประเด็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  ก่อให้เกิดกระแสการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  การปรับปรุงบทบาทและการปรับพฤติกรรมการสอนของครู  ให้เป็นครูยุคใหม่ที่มีทั้งศาสตร์ (Science)  คือความลุ่มลึกจัดเจนในเนื้อหา ( Subject Matters)  มีศิลปะการสอน (Methodology)  คือมีเทคนิควิธีการถ่ายทอดการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างมีความสุขและตระหนักผลที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ
           ๕.  ประเด็นจุดเน้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  ๘ (พ.ศ.๒๕๔๐๒๕๔๔)  และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕๒๕๔๙) ได้วิเคราะห์ให้เห็นจุดด้อยในคุณภาพและความสามารถของคนไทยจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนเป็นสำคัญ มีแผนพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องชัดเจนโดยเน้นคุณภาพครูและวิธีการสร้างครูรุ่นใหม่ และสอดคล้องสัมพันธ์ระหว่างการบริหารครู  การใช้ครูและการพัฒนาครู
           ๖.  ประเด็นที่ชี้ให้เห็นความสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ  และการมีผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับและเน้นการวิจัยชั้นเรียน  กระบวนการเหล่านี้เป็นกระแสสำคัญต่อการปฏิรูปบทบาทของครูให้เป็นผู้นำทางวิชาการที่ใช้พันธะกิจและทิศทางเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ปรากฏและนำไปสู่การเป็นนักแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและปรับปรุงกำหนดตำแหน่งเป็น  ครูมืออาชีพ  เป็นครูต้นแบบ  เป็นครูผู้เชี่ยวชาญ  เป็นครูนักวิจัย  เป็นครูผู้นำทางวิชาการ  เป็นครูนักเปลี่ยนแปลง  โดยใช้ผลงานศึกษาวิจัยเป็นเครื่องชี้วัดและประเมินผลคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
           ๗.  ประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษา  ได้ก่อให้เกิดกิจกรรมการประเมินคุณภาพการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านปัจจัยด้านกระบวนการและผลผลิตทางการศึกษาเพื่อนำไปสู่การประกันคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งนี้โดยมีการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกและนำไปสู่การพัฒนาสถานะภาพผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานสากล
           ๘.  ประเด็นกระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization Currently)  ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านวิสัยทัศน์  สังคม  สิ่งแวดล้อม  เศรษฐกิจ  การเมือง  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการสื่อสาร  ทั้งทางบวกและทางลบ  แนวคิด  ค่านิยม  ความเชื่อได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการดำรงชีวิต  การเรียนรู้ สังคมความรู้ สังคมปราชญ์และผลกระทบในการพัฒนาครู  การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพครูอย่างสำคัญ

๔.  คุณลักษณะครูรุ่นใหม่ที่ควรมี[๑๓]
           ตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาด้านปัจจัยเพื่อประเมินภายนอก ๔ มาตรฐาน  ๑๒  ตัวบ่งชี้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ดังนี้
           ๑.   มาตรฐานด้านมีวิญญาณความเป็นครู  มีคุณธรรมจริยธรรม  ประกอบด้วย
               ตัวบ่งชี้  ๑  ครูมีความเอื้ออาทร  เข้าใจและเอาใจใส่ผู้เรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียมกัน
               ตัวบ่งชี้  ๒  ครูมีมนุษยสัมพันธ์  ควบคุมอารมณ์ได้และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
               ตัวบ่งชี้  ๓  ครูมีความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์  ตรงต่อเวลา  อุทิศตนให้กับการพัฒนาผู้เรียน
               ตัวบ่งชี้  ๔  ครูวางตนเหมาะสม  เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความประพฤติและบุคลิกภาพ
               ตัวบ่งชี้  ๕  ครูมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู

           ๒.   มาตรฐานด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ประกอบด้วย
                 ตัวบ่งชี้  ๑  ครูรู้เป้าหมายของหลักสูตรและเป้าหมายการจัดการศึกษา
                 ตัวบ่งชี้  ๒  ครูมีความรู้ความสามารถในการประเมินผลการเรียนการสอน  จัดทำแผนและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                 ตัวบ่งชี้  ๓  ครูมีความรู้ความสามรถในการเรียนการสอนและการนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาคุณภาพ
           ๓.   มาตรฐานด้านความสามารถในการแสวงหาความรู้  คิดวิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนประกอบด้วย
                 ตัวบ่งชี้  ๑  ครูมีนิสัยรักการแสวงหาความรู้และข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาการเรียนสอน
                 ตัวบ่งชี้  ๒  ครูมีความสามารถในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
                 ตัวบ่งชี้  ๓  ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ได้

           ๔.   มาตรฐานด้านคุณวุฒิ  ความรู้  ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ
                 ตัวบ่งชี้  ๑  ครูมีคุณวุฒิ  มีความถนัด  มีความเชี่ยวชาญตรงกับงานที่ปฏิบัติการสอน

           หลักและมาตรฐานคุณลักษณะตามเกณฑ์การประเมินครูใหม่  ๑๐  ประการเพื่อการออกใบประกอบวิชาชีพครู  มาตรฐานนี้เทียบเท่าวุฒิบัตรชั้นสูงของสภาแห่งชาติด้านมาตรฐานวิชาชีพการสอน (NBPTS)  ได้แก่
           หลักประการที่  ๑  ครูต้องเข้าใจความคิดหลัก  เครื่องมือที่จะใช้หาความรู้และโครงสร้างของหลักการที่ใช้สอน  และสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทำให้ลักษณะต่าง ๆ นี้มีความหมายแก่นักเรียน
           หลักประการที่  ๒  ครูต้องเข้าใจว่าเด็กเรียนรู้อย่างไรและพัฒนาอย่างไรและสามารถตระเตรียมโอกาสแห่งการเรียนรู้ที่สนับสนุนการพัฒนาทางสติปัญญาและสังคมส่วนบุคคล
           หลักประการที่  ๓  ครูต้องเข้าใจว่านักเรียนแตกต่างกันอย่างไรในการมีแนวทางเรียนรู้และครูต้องสร้างโอกาสทางการสอนที่มีการปรับให้เข้ากับนักเรียนที่มีความหลากหลาย
           หลักประการที่  ๔  ครูต้องเข้าใจและใช้ยุทธศาสตร์การสอนต่าง ๆ ที่จะช่วยเร่งเร้าการพัฒนาของนักเรียนให้มีความคิด  รู้จักวิพากษ์วิจารณ์  แก้ปัญหาและแสดงทักษะได้
           หลักประการที่  ๕  ครูต้องใช้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบันดาลใจและพฤติกรรมของกลุ่มและส่วนบุคคลที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เร่งเร้าการพบปะสังสรรค์ทางสังคม  การเข้าไปเกี่ยวข้องในการเรียนรู้และการสร้างพลังใจของตนเอง
           หลักประการที่  ๖  ครูต้องใช้ความรู้ที่มีประสิทธิภาพในหลักการนิเทศด้านการใช้คำพูด การไม่ใช้ถ้อยคำและสื่อที่จะให้มีการเรียนรู้อย่างจริงจัง  มีการร่วมมือ  การพบปะสังสรรค์ในชั้นเรียน
           หลักประการที่  ๗  ครูต้องวางแผนการสอนโดยมีพื้นฐานทางความรู้ในเรื่องราวที่สอนประชาคม  และเป้าหมายในหลักสูตร
           หลักประการที่  ๘  ครูต้องเข้าใจและใช้ยุทธศาสตร์การประเมินอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในการวัดผลและให้มั่นใจว่านักเรียนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทางปัญญา ทางสังคมและทางกายภาพ
           หลักประการที่  ๙  ครูต้องเป็นนักปฏิบัติที่มีการทบทวนตนเอง  โดยวัดผลอย่างต่อเนื่องในผลของทางเลือกและการปฏิบัติต่อคนอื่นๆ (นักเรียน  ผู้ปกครองและผู้มีวิชาชีพในประชาคมแห่งการเรียนรู้) และเป็นผู้เสาะแสวงหาโอกาสที่จะมีการเติบโตในทางวิชาชีพ
           หลักประการที่ ๑๐  ครูต้องสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานในโรงเรียน  ผู้ปกครอง  และองค์กรในประชาคมที่กว้างขวางมากขึ้น  เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียน  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๔๐ก)

๕.  หลักสูตรผลิตครูรุ่นใหม่[๑๔]
           คุณลักษณะทั่วไปของนักศึกษาครูในศตวรรษ ๒๑ ในระดับอุดมศึกษาสาขาครุศาสตร์  ศึกษาศาสตร์  ซึ่งอยู่ในวัยกำลังจะเป็นผู้ใหญ่ในระดับปริญญาตรีเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นและมีอุดมการณ์ สนใจในสิ่งที่อยากรู้  ต้องการการยอมรับของเพื่อน  อาจารย์ และสังคม  ต้องการที่จะสามารถนำตนเองได้  เป็นบุคคลที่มุ่งสร้างประสบการณ์และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ( Self Directed Learning)  มักสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม  การจัดการเรียนการสอนควรมุ่งจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์และให้สามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์และบริบทของผู้เรียนจะสามารถช่วยนิสิตให้เรียนรู้ได้ดี
           หลักสูตรผลิตครูรุ่นใหม่ควรมีหลักการสำคัญดังนี้
           ๑.  เป็นการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตวิชาชีพครูสาขาต่างๆ  ให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพโดยให้มีความรู้  สติปัญญา  มีความสามารถในการสอนและมีคุณธรรมจริยธรรม
           ๒.  เป็นการศึกษาที่มุ่งให้บัณฑิตสามารถบูรณาการ  ประยุกต์พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการสอนในสถานศึกษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ท้องถิ่นและสากล
           ๓.  เป็นการศึกษาที่มุ่งให้บัณฑิตสร้างความเป็นเลิศในวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างภาคภูมิมั่นคงและน่าเชื่อถือ









สรุป
           คุณลักษณะคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตน และหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งของการทำงานและการดำรงชีวิต ไปในทางที่ถูกต้อง ครู คือผู้ที่ค่อยสั่งสอน จึงจำเป็นต้องมีลักษณะที่ดี มีคุณต่อการพัฒนาประเทศโดยการพัฒนาตัวเยาวชน หรือลูกศิษย์ให้มีความพร้อมในการดำรงชีวิต
            “ครู” หมายถึง ผู้เปิดประตูทางวิญญาณ ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ที่ตนมี เพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้เกิดการพัฒนา ด้วยวิธีการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียน เพื่อสร้างบุคลากรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศ
           บทบาทและหนาที่ความรับผิดชอบของครูก็คือบทบาทและหนาที่ความรับผิดชอบที่มีต่อศิษย์ต่อสถานศึกษา ต่อเพื่อนครูต่อชุมชน ต่อผู้บังคับบัญชา และต่อความมั้นคงของชาติซึ่งบุคคลที่จะมาถึงพรอมด้วยความเปนครูจะต้องพยายามรักษาบทบาทหนาที่และความรับผิดชอบต่างๆ เหลานี้ด้วยความสํานึก ด้วยความเต็มใจ และประพฤติอยางเครงครัด เพื่อให้สมกับคําว่า แมพิมพพอพิมพของชาติ
           สาเหตุของการผลิตครูรุ่นใหม่ ได้แก่ ความล่าหลังของการพัฒนา แนวทางและวิธีการสอนที่ไม่ทันตามยุค สมัยที่เทคโนโลยี นับเป็นสิ่งที่มาเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินชีวิต บวกกับนโยบายเดิมเป็นเพียงการสร้างบุคลากรทางการศึกษา โดยบังคับใช้เกณฑ์ในการสอนเป็นหลักสำคัญ
           คุณลักษณะครูรุ่นใหม่ที่ควรมีนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ในการพัฒนาตัวเยาวชนเป็นหลักสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นถึงความมีคุณธรรมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน แม้แต่การดำเนินชีวิตของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา และเข้าใจ การตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ และมีความหวังดีต่อลูกศิษย์ของตนเอง นี้คือหลังสำคัญ
           หลักสูตรผลิตครูรุ่นใหม่ คือ การกระตุ้นให้ครู เริ่มเกิดความอยากในการพัฒนาวิชาชีพ และทักษะความสามารถของตนเอง โดยฉีกกรอบของความยึดเอาตนเองเป็นหลักออกไปจากความคิด ยอมรับฟังเพื่อนร่วมงาน ศึกษาความต้องการของเด็ก เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาตนเอง โดยรับประสบการณ์ที่มากกว่า
           ดังนั้น  คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ ๒๑ นั้นควรมุ่งเน้นการเสริมสร้างประสบการณ์ และการยอมรับในความทันสมัยของยุค และการเปิดโอกาสของการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเช่นเดียวกัน
          


บรรณานุกรม
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๙). แหล่งที่มา : http://www.onec.go.th /publication/s_fullplan/fullplan.pdf. ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
จุฑา  บุรีภักดี. มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา, ๒๕๔๗.
โณทัย อุดมบุญญานุภาพ, การศึกษาสภาพการณ์ความสำคัญและจำเป็นในการปฏิรูป หลักสูตรครูมืออาชีพ. เอกสารรายงานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ๒๕๔๓.
นิภาภัทร ร้อยดาพันธ์. การศึกษาการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัด ขอนแก่นตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ๒๕๔๕.
นิรมล แจ่มจำรัส. เอกสารประกอบการสอนวิชาศึกษา ๓๐๐ ความรู้ทั่วไปสำหรับอาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ๒๕๔๕.
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ). ธัมมิกสังคมนิยม. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง. ๒๕๒๙.
พรชัย หันจันทร์. บทบาทและหน้าที่ของครู. แหล่งที่มา : http://www.vcharkarn.com/vblog/๔๒๐๕๖/๒. ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ความรู้คู่คุณธรรม (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๔๒.
ยนต์ ชุ่มจิต. ความเป็นครู. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๙.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์. ๒๕๔๖.
วิไล ตั้งจิตสมคิด. การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๔.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. ครูของครูกับครูมืออาชีพ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แหล่งที่มา :  http://www.detudom.ac.th/  det/general/b๖.pdf. ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. คุณลักษณะของครูที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา. แหล่งที่มา : http://www.ksp.or.th/upload/๔๔๔/files/๔๔๘๙๕๑๕.ppt#๒๕๘,,slide๓. ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
Teacher Professional Development. คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ ๒๑. แหล่งที่มา; https://educ๑๐๕.wordpress.com /คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ ๒๑/. ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.






[๑] พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ), ธัมมิกสังคมนิยม, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๒๙), หน้า ๙๒-๙๔.
[๒] ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๔๖), หน้า ๒๒๕.
[๓] ยนต์ ชุ่มจิต, ความเป็นครู, (กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๙), หน้า ๔๙-๕๕.
[๔] พรชัย หันจันทร์, บทบาทและหน้าที่ของครู, แหล่งที่มา : http://www.vcharkarn.com/vblog/๔๒๐๕๖/๒, ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๕] นิภาภัทร ร้อยดาพันธ์, การศึกษาการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัด ขอนแก่นตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ, วิทยานิพนธ์ ศศ.ม, (การบริหารการศึกษา), (ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๔๕), หน้า ๓๔-๓๕.
[๖] จุฑา  บุรีภักดี, มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู, (กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา, ๒๕๔๗), หน้า ๕๑-๕๒.
[๗] คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๙). แหล่งที่มา : http://www.onec.go.th /publication/s_fullplan/fullplan.pdf, ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๘] สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา,. คุณลักษณะของครูที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา. แหล่งที่มา : http://www.ksp.or.th/upload/๔๔๔/files/๔๔๘๙๕๑๕.ppt#๒๕๘,,slide, ค้นหา วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๙] วิไล ตั้งจิตสมคิด, การศึกษาและความเป็นครูไทย, (กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๔), หน้า ๑๔๙.
[๑๐] สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์, ครูของครูกับครูมืออาชีพ, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, แหล่งที่มา :  http://www.detudom.ac.th/  det/general/b๖.pdf, ค้นหา วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๑๑] นิรมล แจ่มจำรัส, เอกสารประกอบการสอนวิชาศึกษา ๓๐๐ ความรู้ทั่วไปสำหรับอาชีพครู, (กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๕), หน้า ๙๓-๙๖.
[๑๒] โณทัย อุดมบุญญานุภาพ, การศึกษาสภาพการณ์ความสำคัญและจำเป็นในการปฏิรูป หลักสูตรครูมืออาชีพ, เอกสารรายงานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, (มหาวิทยาลัยขอนแก่น  : ๒๕๔๓).
[๑๓] Teacher Professional Development, คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ ๒๑, แหล่งที่มา; https://educ๑๐๕.wordpress.com /คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ ๒๑/, ค้นหา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘.
[๑๔] ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ความรู้คู่คุณธรรม (พิมพ์ครั้งที่ ๒), (กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๒๕๔๒).

ความคิดเห็น