บทที่ 2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

 

บทที่ 2

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

บทนำ

 ๑. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ซีพียู (CPU) หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) นั้น ย่อมาจากคำว่า Central Processing Unit ซึ่งหมายความว่าเป็นหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา ถือเป็นหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะ โดยมีกระบวนการพื้นฐาน คือ

สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบไปด้วย ส่วนควบคุมการประมวลผล (control unit) และ ส่วนประมวลผล (execution unit) และจะเก็บข้อมูลระหว่างการคำนวณไว้ในระบบเรจิสเตอร์

             ปัจจุบันนี้การแข่งขันกันด้าน CPU นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านของราคา ประสิทธิภาพ รวมถึงความสามารถที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ๆ ทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดนั้นรุนแรงขึ้นทุกๆวัน ซึ่งเมื่อก่อนนั้น Intel เป็นผู้ครองตลาด CPU แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีบริษัทที่แยกตัวออกมาจาก Intel และทำการผลิต CPU ของตนเอง ใช้ชื่อบริษัทว่า AMD ( Advance Micro Device ) โดยแรกๆนั้นยังใช้ชื่อเสียงและสถาปัตยกรรมของ Intel เพื่อขอมีส่วนแบ่งในตลาด แต่ต่อมาได้ออกแบบสถาปัตยกรรมของตนขึ้นมาจนกระทั่งปัจจุบันนั้นก็ได้มีส่วนแบ่งในตลาด CPU ที่สูงทัดเทียม กับทาง Intel แล้ว

http://5920104741wipa.blogspot.com/2018/01/cpu.html

https://notebookspec.com/pc-cpu/INTEL-Core-i9-10900X/353  i9

https://www.extremeit.com/amd-cpu-history-1/  AMD

https://notebookspec.com/pc-cpu/AMD-Ryzen-9%203900X/337 R9

https://notebookspec.com/pc/spec

 

             Mainboard

Mainboard (แผงวงจรหลัก) เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย

1. ชุดชิพเซ็ต

  ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge

  ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI

  ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน

  ชุดชิพเซ็ตจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อโดยลักษณะการใช้งานจะขึ้นอยู่กับซีพียูที่ใชเป็นหลัก เช่นชุด ชิพเซ็ตตระกูล 430 ของอินเทลเช่นชิพเซ็ต 430FX, 430HX 430VX และ 430TX จะใช้งานร่วมกับซีพียู ตระกูลเพนเทียม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต ตระกูล 440 ของอิเทลเช่นชิพเซ็ต 440FX, 440LX, 440EX และชิพเซ็ต 440BX จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมโปร เพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน และชุดชิพเซ็ตตระกูล 450 ของอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต 450GX และ 450NX ก็จะใช้งานร่วมกับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทูซีนอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Server หรือ Workstation นอกจากนี้ยังมีชิพเซ็ตจากบริษัทอื่นๆ อีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมา แข่งกับอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต Apollo VP2, Apollo VP3 และ Apollo mVp3 ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin IV+ และ Aladin V ของ ALi และชุดชิพเซ็ต 5597/98, 5581/82 และ 5591/92 ของ SiS สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต Apollo BX และ Apollo Pro ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin Pro II M1621/M1543C ของ ALi และชุดชิพเซ้ต 5601 ของ Sis สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน ซึ่งชิพเซ้ตแต่ละรุ่น แต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป

2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ

   ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่  เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

3. หน่วยความจำแคชระดับสอง

  หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช

 

VGA Card

การ์ดจอ (Graphic Card) หรือการ์ดแสดงผล เป็นเหมือนสีสันของคอมพิวเตอร์เลยครับ การ์ดจอ (Graphic Card) คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor) ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โปรแกรมในปัจจุบันมีความต้องการการคำนวณทางด้านกราฟิคที่สูงมาก อย่างที่รู้ๆ กันคือ เกมส์ ที่เรากันอยู่ในปัจจุบันครับ บรรดาผู้ผลิตต่างก็พัฒนาเกมของตนให้มีภาพกราฟิคที่ละเอียดสมจริง การ์ดจอจึงต้องพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งกราฟฟิคที่สวยงาม ตระกาลตา ปัจจุบันนี้ก็ HD(Hi definition)กันเกือบหมดแล้ว

ปัจจุบัน การ์ดจอ มี 2 ค่ายผู้ผลิตคือ AMD และ NVIDIA โดยทั้ง 2 ค่ายมีความแตกต่างกันที่ราคาสินเท่านั้นส่วนคุณภาพก็ไม่ห่ากันมาก

             RAM

แรม (RAM : Random Access Memory) คือ หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำประเภทที่อ่าน/เขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันที

หน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียู (CPU)อยู่ตลอดเวลา แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู (CPU) จะต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล

เปรียบเทียบง่ายๆ ก็ประมาณว่า แรมก็คล้ายๆ กับคลังขนส่งที่จะเป็นตัวกลางในการขนส่งสินค้า ในทีนี้ก็คือข้อมูลโดยจะทำงานร่วมกับบริษัทแม่ก็คือ ซีพียู (CPU) ที่เป็นตัวกลางในการรีบคำสั่งงานจากลูกค้าเพื่อมาประมวลผลแล้วส่งผลที่ได้ไปให้แรมนั่นเอง

 

 

 

 

Hard disk

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดสื่อหลักที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว

Solid State Drive

SSD (Solid State Drives) คือ ฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ทีเป็นการใช้ชิปหน่วยความจําเก็บข้อมูลแทนจาน

แม่เหล็ก ซึงเหมือนกับแฟร์ชไดร์ฟนันเอง โดย SSD มีส่วนประกอบสําคัญ 2 ส่วน ได้แก่

1. ชิปหน่วยความจํา

2. ชิปคอนโทรลเลอร์สําหรับควบคุมการทำงาน

ในท้องตลาดผลิต SSD มา 2 แบบ ซึงจะแบ่งตามชนิดของชิปหน่วยความจํา ได้แก่

1. NOR Flash จะเป็นแบบทีหน่วยความจําแต่ละชิปจะถูกเชือมต่อกันแบบขนาน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วมาก แต่มีความจุตํา และราคาแพงมากกว่า NAND Flash

2. NAND Flash จะเป็นแบบเข้าถึงข้อมูลทีละบล็อกทำให้มีความจุสูงราคาถูก ซึงมีคุณลักษณะโครงสร้างเหมือนกับแฟร์ชไดร์ฟ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

- Single Level Cell (SLC) คือ ในแต่ละเซลเก็บข้อมูลได้1 บิต ทำงานเร็วกินพลังน้อย และมีอายุการใช้งานนาน สามารถเขียนได้ประมาณ 1 แสนครัง แต่ราคาสูง

- Multi Level Cell (MLC) คือ ใน 1 เซลเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 บิต ความเร็วต่ำ กว่าและใช้พลังงานมากกว่า SLC สามารถเขียนได้ประมาณไม่เกิน 1 หมื่นครั้ง ซึงมีราคาถูก

Power Supply หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของ Power Supply ไม่ใช้แค่เป็นตัวจ่ายไฟอย่างเดียว จริงๆแล้วหน้าที่หลังของ Power Supply คือตัวแปลงไฟล์ฟ้าจากระบบไฟฟ้าบ้านที่มีแรงไฟฟ้าที่เยอะเกินความต้องการของอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟฟ้าบ้านในไทยมีไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ แต่อุปกรณ์บางชนิดต้องการแค่ 3.3 โวลต์ 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามลำดับ หรือจะพูดง่ายๆคือ Power Supply เป็นตัวแปลงไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นเอง

ระบบระบายความร้อน

CPU ที่ทำให้ CPU อุณหภูมิลดลงเพื่อเป็นการถนอม CPU ไปในตัวโดยมีอยู่ 2 แบบคือแบบระบบน้ำและระบบพัดลมซึ่งการทำงานของมันคือทำให้อุณหภูมิลดลงได้ในระดับหนึ่งซึ่งเป็นการยืดอายุการใช้งานของ CPU ได้มากขึ้น

 

 

 

 

 

             จอภาพ (Monitor)

เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ หน้าที่ของมันคือ ทำการแสดงผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพมีอยู่ 3 แบบ คือ

             จอภาพแบบหลอด CRT ซึ่งจะเหมือนกับจอภาพของโทรทัศน์ จอภาพแบบนี้ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่ น้ำหนักมาก และยังมีรังสีออกมาจากจอภาพทำให้เกิดความร้อนสูงขณะใช้งานจอภาพแบบ LCD ซึ่งมีขนาดเล็กและบางกว่ามาก จึงใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าและถนอมสายตาของผู้ใช้ได้ดีกว่า

จอภาพแบบ LED เป็นจอภาพแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมการมาก ซึ่งจอภาพชนิดนี้จะใช้เทคโนโลยีไมโครคอนโครเลอร์ประมวลผลคำสั่งเพื่อให้หลอดไฟ LED แสดงภาพออกมา ลักษณะของจอภาพชนิดนี้จะมีหลอดไฟ LED เล็กเรียงกันอยู่ ภาพที่ออกมาจะมีสีสันสดใส สวยงามและมีความคมชัดกว่าจอ LCD มาก

https://www.extremeit.com/monitor-tn-va-ips-buying-guide/

 

 

-Software

software เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ซึ่งใช้ประกอบกับคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งพวกนี้ร้อยเรียงกันขึ้นมาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานในขั้นพื้นฐานก็เป็นแค่การใช้ข้อมูลตัวเลขฐานสอง แทนข้อมูลตัวเลข , ตัวอักษร , รูปภาพ หรือ เป็นเสียงพูดก็ยังได้ เพราะฉะนั้นโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ ก็คือ software อันเป็นลำดับขั้นตอนของการทำงานคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องสามารถทำงานแตกต่างกัน จากการใช้ software อันแตกต่าง สรุปแล้ว software จึงหมายถึงโปรแกรมทุกชนิดซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้

การที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถทำงานให้เราได้อย่างมากมาย เนื่องจากมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ตามต้องการ โดยสำหรับห้างสรรพสินค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยมนการทำบัญชีอันแสนยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วสำหรับการเดินรถก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจองตั๋วสำหรับลูกค้า แถมยังช่วยในเรื่องกิจการงานของธนาคารซึ่งมีข้อมูลรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ยังช่วยงานพิมพ์เอกสารออกมาได้อย่างสวยงาม เป็นต้น เพียงเท่านี้คุณก็เห็นแล้วใช่ไหมว่า การที่คอมพิวเตอร์สร้างประโยชน์ได้อย่างมากมายมหาศาลนั้น อยู่ที่ software เพราะฉะนั้น software จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าหากขาด software ไปคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ software จึงเป็นสิ่งจำเป็นรวมทั้งมีความสำคัญมาก อีกทั้งยังเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งซึ่งทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่เราต้องการ

ชนิดของ software

software นั้นมีมากมายหลายประเภท โดย software เหล่านี้สามารถได้รับการพัฒนามาจากผู้ใช้งาน , ผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย software แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

software ระบบ เป็น software ซึ่งทางบริษัทหรืองค์กรใหญ่ๆ เป็นผู้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบของคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของ software ระบบ คือช่วยดำเนินการตามขั้นพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วนำมาแปลให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ , นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพ หรือ จัดการข้อมูลในระบบที่เป็นแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เป็นต้น

พอเรากดเปิด และทันทีที่มีการส่งกระแสไฟฟ้าเข้าไปให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานตามโปรแกรมโดยทันที และโปรแกรมขั้นพื้นฐานที่คอยสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานนี้เองจึงเป็น software ระบบ โดยถ้าหากว่าไม่มี software ระบบ คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานไม่ได้เลย

นอกจากนี้ software ระบบยังใช้ในการพัฒนา software อื่นๆ อีกทั้งยังรวมไปถึง software ที่ใช้ในการแปลภาษาต่างๆอีกด้วย

software ประยุกต์ เป็น software สำหรับงานด้านต่างๆ สร้างมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างโดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนา software ประยุกต์ ออกจำหน่ายมาก ทำให้การประยุกต์การใช้งานของคอมพิวเตอร์จึงมีความกว้างขวางและแพร่หลายมากขึ้น เราจะแบ่ง software ประยุกต์ออกเป็น 2 กลุ่มคือ software สำเร็จ และ software พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ สรุปแล้ว software สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น software ประมวลคำ software ตารางทำงาน เป็นต้น

 

-People ware

People ware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

                   1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

4. ผู้ใช้ (User) พีเพิลแวร์ (Peopleware) คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของเคื่องคอมพิวเตอร์ พีเพิลแวร์หรือบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะบุคคลากรจะเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานให้ระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินต่อไปได้เราสามารถแบ่งบุคลากรเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงานได้ดังต่อไปนี้

1. นักวิเคราะห์ระบบงาน (System Analysist :SA) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับผู้ใช้โปรแกรม ผู้จัดองค์กรและโปรแกรมเมอร์ ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่ ติดตั้งระบบงานใหม่ รวมทั้งประเมินผลระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าโปรแกรมเมอร์ จบการศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคณิตศาสตร์ ศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่อย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันยังขาดแคลนนักวิเคราะห์ระบบงานที่มีความรู้ความชำนาญ เพราะนักวิเคราะห์ระบบส่วนใหญ่ต้องอาศัยประสบการณ์สูง เช่น ฝ่ายการเงินต้องการนำคอมพิวเตอร์มาคิดคำนวณเรื่องรายรับ รายจ่ายของบริษัท นักวิเคราะห์ระบบก็ต้องศึกษาในเรื่องของการเงิน ขั้นตอนการทำงานของฝ่ายการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เมื่อศึกษารายละเอียดข้อมูลได้ตามต้องการแล้วนักวิเคราะห์ระบบจึงดำเนินการออกแบบระบบใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลด้านการเงินต่อไป

2. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยทำการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานนั้น ๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ แนวคิดแบบตรรกะ (Logic) ของโปรแกรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่ได้จากการออกแบบระบบ เทคนิคการออกแบบระบบงาน ทำงานร่วมกันเป็นทีม

3. วิศวกรระบบ (System Engineer) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อม บำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างของฮาร์ดแวร์ หลักการทำงานของฮาร์ดแวร์ สามารถออกแบบและติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ได้

4. ผู้บริหารระบบงาน (Administrator) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบงานหรือองค์กรด้านคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ - ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ (Computer Center Administrator) คือบุคลากรทำหน้าที่บริหารศูนย์หรือองค์กรทางด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ มีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย - ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) คือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารการจัดการฐานข้อมูลและการดูแลรักษาฐานข้อมูลขององค์กร

5. พนักงานปฏิบัติการ (Operator) คือ บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

6. ผู้ใช้ (User) คือ กลุ่มบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ (User) และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานของคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ใช้ระบบงานหรือเป็นผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของตนเองหรือตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในภาระกิจประจำวันของตนเอง

 

-พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์

คำอธิบาย: https://julalaipanpayap.files.wordpress.com/2013/09/computer-flow.png

             การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน[1]

ขั้นที่ 1 รับข้อมูล (input) เป็นการนำข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆเช่น การพิมพ์ข้อความเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้แป้นพิมพ์การบันทึกเสียงโดยผ่านไมโครโฟน เป็นต้น

             ขั้นที่ 2 ประมวลผลข้อมูล (process) เป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ เช่น การนำข้อมูลที่รับเข้ามาหาผลรวม เปรียบเทียบคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์สำหรับประมวลที่สำคัญ คือ หน่วยประมวลผลกลาง

             ขั้นที่ 3 จัดเก็บข้อมูล (storage)เป็นการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการประมวลผลแรม รวมถึงจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) แฟลชไดร์ฟ (flash drive) เป็นต้น

             ขั้นที่ 4 แสดงผลข้อมูล (output)เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆเช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

             ซึ่งการทำงานทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า วงจรการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ (IPOS CYCLE)

 

-ชนิดของคอมพิวเตอร์

             การจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์

             พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชิ้นซิลิกอนเล็กๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง

             ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวกลบคูณหาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางนี้ เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)

             การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจนเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทั้งนี้ การจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ได้พิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก

             ชนิดของคอมพิวเตอร์

                   1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถใน  การประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วเพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่น การคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน

                   2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี     โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็ คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง

                   3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพรองจาก เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ ที่เรียกว่า เครื่องให้บริการ (server)  ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าใช้งาน (Access) ได้พร้อมกัน ผ่านเครื่อง Terminal มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร มีการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ปัจจุบัน มีการใช้มินิคอมพิวเตอร์กันน้อยลง เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่มีความเร็วและมีประสิทธิภาพสูง

    4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)

    ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย ได้แก่ Acer , Apple, Compaq, Dell, IBM เป็นต้น

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

          1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)

          2.แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งาน ได้แก่

    - แล็ปท็อป (Laptop Computer) หรือ โน๊ตบุ๊ค (Notebook Computer)  เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถขนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 1-3 กก. การทำงานของแล็ปท็อปจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้พลังงานได้โดยตรงโดยการเสียบปลั๊กไฟ ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปจะพอกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบปกติ ในขณะที่ราคาจะสูงกว่า   โดยส่วนที่จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือ จอภาพจะเป็นลักษณะจอแอลซีดี และจะมีทัชแพดที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของลูกศรบริเวณหน้าจอ

             - ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก

                   - แท็บเล็ต พีซี (Tablet personal computer) ป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมัน แท็บเล็ต พีซีแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (laptops) ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ (keyboard) ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน โดยมีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์ แท็บเล็ต พีซี ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน

    - โมบายคอมพิวเตอร์ (Mobile computer) หรือ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก พกพาได้   มีความสามารถใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการพูดคุย ติดต่อสื่อสาร และเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายได้



[1] https://sites.google.com/site/nokfungfuang/hlak-kar-thangan-khxng-khxmphiwtexr

ความคิดเห็น