การประกันคุณภาพ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM 2-4 พฤษภาคม 2561 

"การจัดทำเอกสารประเมินตนเอง SAR เพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน"
    
            เมื่อพูดถึงเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา คุณครู ในสถานศึกษา อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาคงจะเอื้อมกันทั้งนั้น ด้วยความที่ว่าเป็นเหมือนการเพิ่มภาระงานให้ท่าน แต่หากพิจารณาถึงองค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษาแล้ว (ในที่นี้ขอพูดถึงระดับ สถาบันอุดมศึกษา) จะเห็นได้ว่า ทั้ง 6 องค์ประกอบนั้นเป็นเรื่องที่อาจารย์ผู้สอนต้องทำอยู่แล้วเป็นปกติ เพราะทุกการทำหน้าที่ของท่านล้วนแล้วเป็นคำตอบในแต่ละองค์ประกอบ อาทิ การรับสมัครนิสิต ซึ่งก็ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ มีการจัดทำแผนการรับ(ต้องสอดคล้องกับมคอ.2 ของแต่ละหลักสูตร) มีการประชาสัมพันธ์ มีการแนะแนว ซึ่งเป็นเรื่องปกติของแต่ละสถาบัน แต่ที่เป็นปัญหาของการประกันคุณภาพคือ ระหว่างที่ทำไม่ได้บันทึกเป็นเรื่องราวไว้ ทำให้เกิด GAP ระหว่างการทำงาน และเมื่อมาย้อนทำ ปัญหาจึงเกิด เกิดอย่างไร
   1. เอกสารที่เคยทำไว้หายไปไหน
   2. โครงการที่ทำไว้ ยังไม่ได้สรุป
   3. ไม่มีคนดูแลระบบอย่างชัดเจน
   4. สุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ ทำงานไม่ตรงหน้าที่ 
          นี้คือประสบการณ์จากการทำ SAR อันเป็นผลพลอยได้จากการทำงาน Learning By Doing

      สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การทำงานทุกองค์กร สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาคือ การทำงานอย่างมีกลไก มีการวางแผน มีการทำให้สามารถพิสูจน์ได้ จนเกิดเป็นรูปธรรม ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ทำได้ผู้เขียนได้รู้จักกระบวนการในการเขียนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจำแนกเป็นรายข้อได้ดังนี้
    1. การทำงานต้องมีระบบกลไก (วันนั้นได้ความรู้เกี่ยวกับ PDCA)
    2. ต้องมีการต่อยอดของการทำโครงการหรือพัฒนาต่อ (หลังจากได้ความรู้เรื่องนี้แล้ว ก็กลับมาปรับการเขียน sar ใหม่ เป็นระบบ PDCA)
    3. การทำงานทุกอย่างต้องมีหลักฐาน พิสูจน์ได้ (อย่ามโนนะไม่ดี) และ
    4. ต้องมีความเข้าใจในงานที่ตนเองทำ สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงประจักรษ์

ความคิดเห็น