การเรียนรู้กับการพัฒนาบุคคล

                                               
การเรียนรู้กับการพัฒนาบุคคล
มาวิน  โทแก้ว นักวิชาการมือใหม่*
บทนำ
              "ก้อนหินทุกก้อนไม่ได้โง่"  คำนี้ทุกท่านผู้รักในการพัฒนา และเพิ่มเติมประสบการณ์ของตัวเองคงเคยได้ยินมาแล้ว แน่นอนว่าจุดเริ่มต้นเพียงเล็กๆในอดีต นำมาซึ่งรูปธรรมในการพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้เป็นคนดีสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มุ่งเน้นที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสร้างให้เขารักในการเรียนมิใช่บังคับให้เขาเรียนรู้ โดยผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ที่จะนำมาสร้างแผน นโยบายหรือแนวทางเพื่อพัฒนาคนนับว่าเป็นเครื่องมือและนวัตกรรมที่ค่อนข้างจะสำคัญ และเป็นปัจจัยหลักในการจัดการเรียนการสอน อบรม ฝึกฝน และกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร และสร้างประโยชน์แก่สังคมสืบต่อไปซึ่งผู้เขียนได้กำหนดกรอบในการศึกษาดังนี้
             1. ความหมายของการเรียนรู้
             2. ความสำคัญของการเรียนรู้
             3. ทฤษฎีการเรียน
             4. องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
             5. กระบวนการและวิธีการจัดการเรียนรู้
             6. การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการศึกษาไทย 4.๐
             7. สรุปองค์ความรู้ (การเรียนรู้)
             8. ความหมาย
1. ความหมายของการเรียนรู้
             การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงสำหรับบุคคลถาวร ผ่านการวิวัฒนาการทางด้านสมองอย่างแน่นอน โดยวัดหรือประเมินผลทางด้านกายภาพมิได้ แต่ทำได้เพียงแค่ตรวจสอบโดยการสังเกต จากพฤติกรรมของบุคคลนั้นหรือการประเมินผลตามสภาพจริง ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย "การเรียนรู้" ไว้อย่างมากมาย อาทิเช่น


             การเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือการฝึกหัดในสิ่งต่างๆ[1] ด้วยตนเองรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบจากการเกิดพฤติกรรม “ไม่รู้” เป็น “รู้” “ทำไม่เป็น” เป็น “ทำเป็น” ที่เกิดได้ด้วยทั้งประสบการณ์ตรง (พบเจอด้วยตนเอง) และทางอ้อม (ผ่านการเรียนรู้ จากตำรา หนังสือ ภาพยนตร์ ละคร) และการเรียนรู้นั้นต้องมีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างถาวรโดยเกิดจากประสบการณ์การฝึกฝนและการฝึกหัด[2]
             การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึกหัดที่ผ่านอายตนะภายในที่ประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ่น กายและใจ โดยมีตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ่นได้รส กายได้สัมผัส และใจได้รับรู้ความรู้สึก อายตนทั้งภายในและภายนอกจึงมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้ทั้งเด็กและผู้ที่มีวัยวุฒิ ส่วนพฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วคราวไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้[3] โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในช่วงระยะหนึ่งซึ่งเกิดจากการมีสิ่งเร้ามากระตุ้น[4]
             จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเกิดจากการฝึก อบรม โดยใช้ประสาท หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ในการประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้นแล้วนับมาพิจารณาและปรับเข้ากับตัวเอง รวมไปถึงความรู้ผ่านหนังสือ ตำรา และผู้สอน

2. ความสำคัญของการเรียนรู้
             อัจฉริยะ คือ เด็กฉลาด มีความสามารถในการเรียนรู้ที่สูงมาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งศักยภาพเหล่านั้นล้วนมีองค์ประกอบที่สำคัญสิ่งนั้นคือ การเรียนรู้ ผ่านการศึกษา ดู อบรม ฝึก โดยมีผู้ที่จะพยายามในปรับปริมาณความรู้ให้กับบุคคลเหล่านั้น เพื่อให้เกิดกระบวนการตอบสนองกับเนื้อหาและข้อมูลที่จะนำมาสู่ความจำ ความเข้าใจ สังเคราะห์ วิเคราะห์ การนำไปใช้ และการประยุกต์[5] เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ ซึ่งความสำคัญของการเรียนรู้ ได้มีนักการศึกษาให้นิยามความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ อาทิเช่น
             การเรียนรู้ เป็นกระบวนการทางสมองที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งที่มีกระดูกสันหลังและไม่มี โดยผ่านการฝึกและตามสัญชาติญาณ ธนศักดิ์  อัศวจุฬามณี ได้ให้แนวทางตามหลักจิตวิทยาในเรื่องของการเรียนรู้ที่มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์[6] การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต เพราะความรู้ที่ได้นำมาสู่การดำรงชีวิต และถ้าผลของการเรียนรู้ดีมีประสิทธิภาพทั้งทางด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นองค์ประกอบบุคคลนั้นก็เป็นทรัพยากรที่ควรค่าแก่การนำมาพัฒนาประเทศชาติสืบต่อไป
             การเรียนรู้และการศึกษามีลักษณะของความหมายที่ใกล้เคียงกัน โดยการศึกษานั้นมีความหมายว่า การพัฒนาเพื่อให้เกิดการเจริญงอกงามโดยผ่านการฝึก อบรม เรียนรู้ตามกระบวนการทางการเรียนและช่วงอายุของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ที่มีจุดมุ่งหมายว่า มนุษย์ทุกคนยอมได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียบกันที่มีการแบ่งระบบการศึกษาออกเป็น 3 ระบบ คือ ภายใน ภายนอก และตลอดชีวิต
             จากความสำคัญที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเป็นว่าการเรียนรู้และการศึกษามีความสำคัญมากสำหรับมนุษย์ เพราะเมื่อใดขาดการเรียนรู้และปรับตัวมนุษย์นั้นก็อาจจะถึงวาระสุดท้ายของการดำรงอยู่ของสายพันธ์ก็เป็นได้ ดังนั้น มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่มีสมองสามารถพัฒนาตนเอง และสิ่งแวดล้อมได้ ตามกำลังความสามารถของสิ่งที่เขาเหล่านั้นได้เรียนรู้



[1] สุรางค์  โค้วตระกูล, จิตวิทยาการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553), หน้า 186.
[2] สิริอร วิชชาวุธ, จิตวิทยาการเรียนรู้, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554), หน้า 2.
[3] จิราภา  เต็งไตรรัตน์, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, 2554), หน้า 123.
[4] อัชรา  เอิบสุขสิริ, จิตวิทยาสำหรับครู, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556), หน้า 48.
[5] ลักขณา  สริวัฒน์, จิตวิทยาสำหรับครู, (กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2557), หน้า 152.
[6] ธนศักดิ์  อัศวจุฬามณี, จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning), (กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์พริ้นติ้ง, 2552), หน้า 12.

ความคิดเห็น